วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ลิลิตพระลอ

   ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรักที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงามมีความไพเราะของถ้อยคำและเต็มไปด้วยการพรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลายใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่องที่มีฉากอย่างมากมายหลากหลายอารมณ์โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิตลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่มเนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์
                   
                      



เนื้อเรื่อง
ท้าวแมนสรวงเป็นกษัตริย์ของเมืองแมนสรวงพระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่านาฏบุญเหลือทั้งสองพระองค์มีพระโอรสมีพระนามว่าพระลอดิลกราชหรือเรียกกันสั้นๆว่าพระลอมีกิตติศัพท์เป็นที่ร่ำลือกันว่าพระองค์นั้นทรงเป็นชายหนุ่มรูปงามไปทั่วสารทิศจนไปถึงเมืองสรอง(อ่านว่าเมืองสอง)ซึ่งเป็นเมืองที่ถูกปกครองโดยท้าวพิชัยวิษณุกรพระองค์มีพระนามว่าพรดาราวดีและพระองค์ทรงมีพระธิดาผู้เลอโฉมถึงสองพระองค์พระนามว่าพระเพื่อนและพระแพง
พระเพื่อนและพระแพงได้ยินมาว่าพระลอเป็นชายหนุ่มรูปงามก็ให้ความสนใจอยากจะได้ยลพี่เลี้ยงของพระเพื่อนและพระแพงคือนางรื่นและนางโรยสังเกตเห็นความปรารถนาของนายหญิงของตนก็เข้าใจในพระประสงค์สองพี่เลี้ยงจึงอาสาจะจัดการให้นายของตนนั้นได้พบกับพระลอโดยการส่งคนไปขับซอในนครแมนสรวงและในขณะที่ขับซอนั้นจะไห้นักดนตรีพร่ำพรรณนาถึงความงามของเจ้าหญิงทั้งสองในขณะเดียวกันนั้นพี่เลี้ยงทั้งสองก็ได้ไปหาปู่เจ้าสมิงพรายเพื่อที่จะให้ช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอหลงใหลในเจ้าหญิงทั้งสอง
เมื่อพระลอต้องมนต์ก็ทำให้ใคร่อยากที่จะได้ยลพระเพื่อนและพระแพงเป็นยิ่งนักพระองค์เกิดความคลั่งไคล้ไหลหลงจนไม่เป็นอันทำอะไรแม้แต่กระทั่งเสวยพระกระยาหารพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของพระองค์ ได้ทำให้พระราชชนนีสงสัยว่าจะมีผีมาเข้ามาสิงสู่อยู่แต่ถึงแม้ว่าจะหาหมอผีคนไหนมาทำพิธีขับไล่ก็ไม่มีผลอันใดพระลอก็ยังคงมีพฤติการณ์อย่างเดิมอยู่
เพื่อที่จะได้ยลเจ้าหญิงทั้งสองพระลอจึงทูลลาพระราชชนนีออกประพาสป่าแต่จุดประสงค์ที่แท้จริงก็คือ เพื่อที่จะได้ไปยลเจ้าหญิงแห่งเมืองสรองนั่นเองจากนั้นพระลอก็ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่เมืองสรองพร้อมคนสนิทอีก2 คนคือนายแก้วกับนายขวัญพร้อมกับไพร่พลอีกจำนวนหนึ่งทั้งหมดต้องเดินผ่านป่าผ่าดงจนกระทั่งมาพบแม่น้ำสายหนึ่งมีชื่อว่าแม่น้ำกาหลง 
และที่แม่น้ำกาหลงนี้เองที่พระลอได้ตั้งอธิษฐานเสี่ยงน้ำเพื่อตรวจดูดวงชะตาของพระองค์เองทันทีที่ได้สิ้นคำอธิษฐานนั้นแม่น้ำก็เปลี่ยนเป็นสีแดงเลือดในทันทีและไหลเวียนวนผิดปกติเมื่อพระลอเห็นดังนั้นก็รู้ได้ว่าจะมีเรื่องร้ายรออยู่เบื้องหน้าของพระองค์แต่ก็ไม่ได้ทำให้พระองค์เกิดความย่อท้อที่จะได้พบกับเจ้าหญิงที่พระทัยของพระองค์เรียกร้องแต่อย่างใดถึงแม้ว่าพระองค์นั้นจะไม่เคยพบนางเลยแต่พระองค์คลั่งไคล้ไหลหลงในตัวนางทั้งสองเป็นยิ่งนัก
ส่วนเจ้าหญิงทั้งสองรอการเดินทางมาของเจ้าชายรูปงามไม่ได้และเกรงว่ามนต์เสน่ห์ของปู่เจ้าสมิงพรายจะไม่เห็นผลจึงได้ขอร้องให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยเหลืออีกครั้งโดยให้ช่วยเนรมิตไก่งามขึ้นตัวหนึ่งให้มีเสียงขันที่ไพเราะทั้งสองพระองค์คิดว่าไก่ตัวนั้นจะต้องทำให้พระลอสนพระทัยและติดตามมาจนถึงเมืองสรองอย่างแน่นอน
และแล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่เจ้าหญิงสองคาดไว้พระลอได้ตามไก่เนรมิตไปจนถึงพระราชอุทยาน และได้พบกับเจ้าหญิงทั้งสองซึ่งกำลังทรงสำราญอยู่ในทันทีที่ทั้งสามได้พบกันก็เกิดความรักใคร่กันในบัดดลและก็เป็นเวลาเดียวกับที่นายแก้วกับนายขวัญได้ตกหลุมรักของนางรื่นและนางโรยผู้ซึ่งเปิดหัวใจต้อนรับชายหนุ่มทั้งสองโดยไม่รีรอเช่นกันปรากฏว่าพระลอและบ่าวคนสนิทของพระองค์ลักลอบเข้าไปอยู่ในพระตำหนักชั้นในซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าหญิงทั้งสอง
อย่างไรก็ตามความลับนี้ได้ถูกเปิดเผยเข้าจนได้เมื่อข่าวได้ไปถึงพระกรรณของพระราชาจึงได้เสด็จมาไต่สวนในทันทีและเมื่อพระลอกราบทูลให้ทรงทราบเรื่องพระองค์ก็ทรงกริ้วเป็นยิ่งนักแต่ก็ทรงเข้าพระทัยในความรักของคนทั้งสามและทรงจัดพิธีอภิเษกสมรสให้ทั้งสามพระองค์ทันที
ด้วยการอ้างเอาพระราชโองการของพระราชโอรสของพระนางคือท้าวพระพิชัยวิษณุกรพระเจ้าย่าจึงสั่งให้ทหารล้อมพระลอและไพร่พลเอาไว้ในขณะที่พระลอกับไพร่พลได้ต่อสู้เอาชีวิตรอดพระนางก็สั่งให้ทหารระดมยิงธนูเข้าใส่ลูกธนูที่พุ่งเข้าหาพระองค์และไพร่พลประดุจดังห่าฝนก็ไม่ปานจึงทำให้ไม่อาจจะต้านทานไว้ได้อีกต่อไป
และเพื่อที่ปกป้องชีวิตของชายคนรักพระเพื่อนกับพระแพงจึงเข้าขวางโดยใช้ตัวเองเป็นโล่กำบังให้พระลอทั้งสามจึงต้องมาสิ้นพระชนม์ในอ้อมกอดของกันและกันท่ามกลางศพของบ่าวไพร่ณที่ตรงนั้นเอง ทันใดนั้นทั้งสองเมืองก็ต้องตกอยู่ในความวิปโยคต่อการจากไปของทั้งสามพระองค์ผู้บูชาในรักแท้

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%AD

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทพสามฤดู

เทพสามฤดู   เป็นนิทาน พื้นบ้านของไทย ปรากฏเป็นหนังสือครั้งแรก โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดเกาะ   เคย ถูกสร้างเป็นละคร  ในปี 2517 ในชื่อ ฝนสามฤดู ...