วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

อุทัยเทวี

เรื่องราวต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับ คางคก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีรูปร่างอัปลักษณ์ น่าเกลียด นำมาสู่เรื่องราว นิทานพื้นบ้านที่มีคติสอนใจ  เป็นตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมานาน ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา 



เนื้อเรื่องณ เมืองบาดาล ธิดาพญานาคหนีมาเที่ยวเมืองมนุษย์และพบรักกับรุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้ริมสระน้ำ ธิดาพญานาคตั้งครรภ์รอจนคลอดเป็นไข่ฟองหนึ่ง จึงใช้สไบห่อไข่และพ่นพิษคุ้มครองไว้ก่อนแล้วลงกลับไปเมืองบาดาล  บังเอิญมีนางคางคกผ่านมาเห็นจึง กินไข่และตายด้วยพิษพญานาค พอดีกับไข่ฟักเป็นเด็กหญิงซึ่งคิดว่านางคางคกเป็นแม่ของตน  จึงอาศัยอยู่ในซากคางคกเน่าๆ
 ตายายสองผัวเมียมาตกปลาพายเรือผ่านมาเห็นเข้าก็ช่วยเลี้ยงดูจนโต ตั้งชื่อให้ว่าอุทัยเทวี และอุทัยเทวีได้แต่งงานกับเจ้าชายสุทธราช ซึ่งก่อนแต่งตากับยาก็ได้มีข้อกำหนดว่า ต้องสร้างสะพานทองตั้งแต่วัง จนถึงบ้านตายยายแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี อุทัยเทวีจึงเป็นสะใภ้แห่งเมืองหลวง มารดาของเจ้าชายไม่ค่อยชอบอุทัยเทวีนัก จึงหาทางให้ลูกของตนเป็นของคนอื่นไป ซึ่งนั่นคือ เจ้าชายต้องไปแต่งงานกับเจ้าหญิงฉันทนา ซึ่งอุทัยเทวีก็ตามไปด้วยตามสัญญา เจ้าหญิงฉันทนาคิดกำจัดอุทัยเทวีโดยฆ่านางอุทัยเทวี แต่พ่อของอุทัยเทวี ช่วยไว้ จึงบอกว่าให้รอแก้แค้นนางฉันทนาอยู่นอกวัง 
   ต่อมาไม่นานนางฉันทนากลุ้มใจเรื่องผีนางอุทัยเทวีจะมาหลอก หัวจึงหงอก ผมที่เคนดำกลับขาวไปทุกเส้น จึงเอาผ้าพันศีรษะไว้ตลอดเวลา ต่อมานางอุทัยเทวีแปลงกายเป็นแม่ค้าขายขนมแก่ๆผ่านมา ซึ่งผมดำยาวสลวยผิดกับนางฉันทนา นางฉันทนาเห็นเข้าจึง คิดว่ายายแก่คนนี้ก็มีเคร็ดลับในการบำรุงรักษาผมอย่างแน่นอน จึงให้ยายแก่เข้าไปในวัง และให้รักษาผมของตนเองให้ แต่นางอุทัยเทวีก็จะรักษาให้ แต่ต้องยอมให้ทำทุกอย่างห้ามถามอะไรทั้งสิ้น นางฉันทนาตกลง จึงนอนลงแล้วนางอุทัยเทวี ก็เอามีดโกนโกนผมนางฉันทนา ออกจนหมด แล้วกรีดศีรษะนางฉันทนาแล้วเอาปลาร้าให้หม้อครอบหัวนางฉันทนาไว้ และห้ามเอาหม้อออกก่อนวันที่ 7 แต่ไม่ถึงคืนนางฉันทนาทนพิษบาดแผลไม่ไหว จึงสิ้นใจตาย 
     เจ้าชายสุทธราช รู้ดังนั้นจึงกลับไปเมืองของตน ซึ่งก็ยังเห็นอุทัยเทวีอยู่ที่เมืองอยู่ก็ทรงโล่งใจ อุทัยเทวี ได้ครองรักกับเจ้าชายอย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน


ที่มา  maewwarunee.blogspot.com/p/blog-page_9.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทพสามฤดู

เทพสามฤดู   เป็นนิทาน พื้นบ้านของไทย ปรากฏเป็นหนังสือครั้งแรก โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดเกาะ   เคย ถูกสร้างเป็นละคร  ในปี 2517 ในชื่อ ฝนสามฤดู ...