วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ทศชาติชาดก

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องทศชาติชาดก หรือต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการบำเพ็ญเพียรอย่างอุตสาหะของพระพุทธเจ้าในชาติก่อน ๆ เพื่อให้เข้าใจหลักธรรม คำสอน หรือการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อย่างถ่องแท้ เพื่อให้เข้าใจถึงการใช้ชีวิตที่เหมาะควรให้มากขึ้น การอ่านนิทานทศชาติชาดก ย่อมส่งผลดีต่อแนวคิด และจิตใจของผู้นั้นได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่านิทานทศชาติชาดกคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และจะมีประโยชน์อะไรต่อผู้อ่านบ้าง วันนี้ดิฉันได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับนิทานทศชาติชาดกมาฝากแล้วค่ะ   
                 









พระเจ้าสิบชาติ เป็นชาติสำคัญที่บำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ ใน 550 พระชาติของพระองค์ โดยมีหลักจำคือ หัวใจพระเจ้าสิบชาติดังนี้

เต - เตมีย์ใบ้ พูดถึงเรื่องของพระเตมีย์ซึ่งเป็นใบ้

ชะ - พระมหาฃนก เรื่องความอดทน

สุ - สุวรรณสาม เคารพ กตัญญู

เน - เนมินราช

มะ - มโหสถชาดก

ภู - ท้าวภูริทัต

จะ - จันทรกุมาร

นา - พระนารถ

วิ - วิฑูร

เวส - เวสสันดรชาดก บำเพ็ญทานบารมี



 ชาติที่1พระเตมีย์







พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเตมีย์ 
ทรงบำเพ็ญเนกขัมบารมี 

เนื้อเรื่อง

พระเจ้ากาสีและพระนางจันทาเทวี แห่งเมืองพาราณสีไม่มีพระโอรสพระธิดาพระะนางจันทาเทวีทรงตั้งสัตยาธิษฐานให้ พระอุโบสถศีลที่พระนางรักษาส่งผลให้ได้พระโอรส แรงอธิษฐานของพระนางทำให้ท้าวสักกเทวราช ต้องเสด็จไปอ้อนวอน ให้เทพบุตรโพธิสัตว์ ซึ้งกำลังจะจุติ (ตาย) จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มาเกิดเป็นพระโอรสของพระนาง ไม่นาน พระนางก็ทรงครรภ์ ยังความปลาบปลื้มปิติแก่พระเจ้ากาสี ข้าราชบริพารและชาวเมืองเป็นอย่างยิ่ง วันที่พระโอรสประสูตินั้นเกิดฝนตกตลอดทั้งแคว้น ความแห้งแล้งหายไป หมู่ไม้นานาพันธุ์สดชื่นพรโอรสจึงได้พระนามว่า พระเตมีย์ (ผู้ทำให้เกิดความชุ่มฉ่ำ) พระกุมารเตมีย์ทรงน่ารัก พระฉวีวรรณผุดผ่อง ทรงเลี้ยงง่าย พระบิดาทรงคัดเลือกแม่นมที่มีลักษณะดี ให้เลี้ยงดูพระกุมารถึง 64 คน เมื่อพระเตมีย์มีพระชนมายุเพียง 1 เดือน บรรทมอยู่บนพระเพลาของพระบิดา ซึ่งกำลังพิพากษาความผิดของโจร ทำให้พระองค์ ทรงระลึกชาติได้ว่า เคยเกิดเป็นกษัตรย์ครองเมืองนี้อยู่ 20 ปี ตัดสินประหารชีวิตผู้คนมาไม่น้อยตายแล้วส่งผลให้ตกนรกเป็นเวลานาน พระองค์ร้อนพระทัย หาทางพ้นจากตำแหน่งกษัตริย์ เทพธิดานางหนึ่งเคยเป็นพระมารดาของพระเตมีย์ในอดีตชาติ ยังคงติดตาม รักษาพระองค์อยู่ ได้บอกอุบายให้พระองค์ทำเป็นเด็กพิการง่อยเปลี้ยเสียขา หูหนวก เป็นใบ้ พระองค์กระทำตามตั้งแต่นั้นมา พระเจ้ากาสีทรงพยายามทดลองพระโอรสด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ให้อดอาหาร เผาที่ประทับ ปล่อยช้างและงูให้มาจะทำร้าย ให้บรรทมอยู่กับอุจจาระ บรรทมบนความร้อน ให้หญิง รุ่นสาวมาเล้าโลม เป็นต้น แต่พระโอรสก็ไม่มีปฏิกิริยาอะไร จนพระเตมีย์ มีพระชนมายุ 16 พรรษา โหรทำนายทายทักว่า พระเตมีย์เป็นตัวเสนียดจัญไร ให้ฝังทั้งเป็น พระเจ้ากาสีทรงจำยอมให้ทำตามโหรหลวง พระนางจันทาเทวี ทรงขอเวลา 7 วัน พระนางพร่ำอ้อนวอนให้พระเตมีย์เลิกทำตัวพิการ แต่ก็ไร้ผลพระเตมีย์สุดแสนสงสารและ สะเทือนพระทัยยิ่งนัก แต่ก็อดกลั้นเอาไว้ จนนายสุนันทสารถีรับพระองค์ไปฝังนอกเมือง นายสารถีตั้งใจจะขับรถม้ามุ่งหน้าออกประตูเมืองทางทิศตะวันตก แต่กลับไปออกประตูเมืองทางทิศตะวันออกหยุดรถที่ป่าใหญ่ ด้วยเข้าใจว่าเป็นป่าช้าผีดิบ เขาเปลืองเครื่องทรงพระเตมีย์ออก แล้วลงไปขุดหลุม พระเตมีย์เสด็จลงจากรถลองพระกำลังโดยยกรถม้า ขึ้นเหวี่ยงเหนือพระเศียร แล้วเสด็จไปหาสารถีตรัสสั่งให้กลับไปกราบทูลพระเจ้ากาสีและพระเจ้าจันทาเทวีทรงทราบเรื่องราว สำหรับพระองค์จะออกบวช เมื่อพระเจ้ากาสีและพระนางจันทาเทวีทรงทราบ รับสั่งให้จัดขบวนพร้อมเชิญชวนชาวเมืองไปเข้าเฝ้า พระเตมีย์ พระดาบสเตมีย์แสดงธรรมให้ทุกคนฟัง พระบิดาพระมารดาและทุกคนเลื่อมใสขอบวชอยู่ด้วย ไม่นานนักก็บรรลุฌานสมาบัติ เมื่อมรณาภาพแล้วไปเกิดบนพรมโลก 




ชาติที่พระมหาชนก





พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก
ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี

เนื้อเรื่อง

พระเจ้าอริฏฐชนิกแห่งเมืองมิถิลา ทำสงครามพ่ายแพ้พระเจ้าโปลชนิกพระอนุชา และสวรรคตในที่รบ ขณะนั้นพระมเหสีทรงพระครรภ์ เสด็จลี้ภัยไปอยู่เมืองกาฬจัมปาก์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองมิถิลาถึง 5,120 กิโลเมตร พราหมณ์ทิศาปาโมกข์รับพระนางไปอยู่ด้วยพระนางประสูติพระโอรส และให้พระนามตามพระอัยกาว่า มหาชนก เมื่อพระมหาชนกเจริญพระชันษาขึ้นมักถูกเพื่อน ๆ ล้อว่าเป็นเด็กกำพร้า พระมหาชนกทรงถามความเป็นจริงจากพระมารดา ครั้นรู้ความจริง พระองค์ ตั้งพระทัยศึกษาศิลปวิทยาเพื่อกลับไปแก้แค้นแทนพระบิดา ต่อมา พระมหาชนกตัดสินพระทัยเดินทางไปเมืองมิถิลาโดยเดินทางค้าขายทางเรือ ไปพร้อมกับพ่อค้าคนอื่นๆ 700 ลำเรือแล่นมาได้ 3 วัน ก็เกิดพายุใหญ่ เรือทั้งหมดอับปางลง พ่อค้าคนอื่น ๆ จมน้ำตาย หรือไม่ก็ถูกปลาร้ายฮุบกินส่วนพระมหาชนกทรงปีนขึ้นบนเสากระโดง กำหนดทิศทางเมืองมิถิลาแล้วกระโดดไปตกไกลจากเรือจึงพ้นปลาร้าย พระองค์เพียรว่ายน้ำอยู่กลางทะเลถึง 7 วันก็ถึงวันอุโบสถพอดี พระองค์สมาทานศีล วันนั้นนางมณีเมขลาเทพธิดาผู้ตรวจดูทะเลเหาะมาพบเข้าเห็นพระมหาชนกมีความเชื่อมั่นในความเพียรพยายาม จึงสงสาร อุ้มพาเหาะไปไว้ในอุทยานเมืองมิถิลาพระเจ้าโปลชนกประชวรสวรรคต เมืองมิถิลาจึงว่างกษัตริย์ มีเพียงพระธิดาสีวลี ปุโรหิตจึงทำพิธีเสี่ยงรถหาคู่ให้พระธิดาราชรถวิ่งมาหยุดอยู่ที่พระมหาชนกซึ่งบรรทมหลับในอุทยานปุโรหิตและมหาชนกพร้อมใจกันอภิเษกให้พระมหาชนกเป็นกษัตริย์แห่งเมืองมิถิลาทรงพระนามว่า พระเจ้ามหาชนก พระองค์ส่งอำมาตย์ไปรับพระมารดา และพราหมณ์ทิศาปาโมกข์มาอยู่ด้วยอย่างมีความสุขพระเจ้ามหาชนกทรงเห็นสัจธรรมจากต้นมะม่วง 2 ต้น ต้นหนึ่งมีผลดก อีกต้นหนึ่งมีกิ่งใบดก ต้นมะม่วงที่มีผลดกถูกเก็บผลจนกิ่งหักเสียหาย เหมือนความเป็นกษัตริย์ ส่วนต้นมะม่วงที่มีใบดกไม่มีผลไม่ได้รับอันตรายใด ๆ เหมือนความเป็นนักบวช พระทัยของพระองค์มอบราชกิจให้แก่พระโอรสผู้มีพระนามว่า ทีฆาวุและอำมาตย์ส่วนพระองค์เสด็จออกทรงผนวชเป็นนักบวชไม่ว่าพระนางสีวลีและชาวเมืองจะขอร้องอย่างไรก็ตาม

ความพากเพียรนำไปสู่ความสำเร็จได้นั้นต้องเป็นความเพียรที่ประกอบด้วยความรัก


ชาติที่3 พระสุวรรณสาม






พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระสุวรรณสาม
ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี


เนื้อเรื่อง

ชายหนุ่มทุกุละกับหญิงสาวปาริกา ต่างเป็นบุตรของนายพรานเนื้อ พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายต้องการให้แต่งงานกัน แต่ทั้งสองเห็นว่าการมีคู่เป็นทุกข์ เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็แต่งงานกัน แล้วชวนกันออกบวชเป็นดาบสอยู่ในป่าหิมพานต์วันหนึ่งท้าวสักกเทวราชรู้ว่าดาบสทั้งสองจะตาบอด จึงลงมาและบอกให้มีบุตร โดยให้ดาบสทุกุละลูบท้องดาบสินีปาริกาพร้อมกับตั้งจิตปรารถนาขอให้ได้บุตรต่อมาไม่นาน ดาบสินีปาริกาก็ตั้งครรภ์แล้วคลอดบุตรเป็นชาย มีผิวพรรณเหลืองสวยเหมือนทองคำจึงตั้งชื่อว่า สุวรรณสาม เมื่อสุวรรณสามเติบโตเป็นชายหนุ่ม มีอายุได้ 16 ปี วันหนึ่งดาบสดาบสินีออกไปเก็บผลไม้ ตอนเย็นเกิดฝนตกหนักจึงเข้าหลบฝนข้างจอมปลวกใต้ต้นไม้ งูเห่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในจอมปลวกพ่นพิษใส่ตาดาบสทั้งสองทำให้ตาบอดสนิท สุวรรณสามเห็นผิดเวลาจึงออกตามหาจนมาพบเข้า ได้ปลอบโยนแล้วพากลับอาศรม สุวรรณสามผูกเชือกโยงจากอาศรมไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นราวให้บิดามารดาจับเดินไป ตั้งแต่นั้นมาสุวรรณสามได้ปรนนิบัติเลี้ยงดูบิดามารดาเป็นอย่างดี พระเจ้าปิลยักษ์ กษัตริย์เมืองพาราณสี โปรดการล่าเนื้อในป่าหิมพานต์ตามลำพัง เย็นวันหนึ่งพระองค์เสด็จมาถึงแม่น้ำมิคสัมมตา เห็นสุวรรณสามมีฝูงสัตว์ป่าอยู่ด้วยอำนาจเมตตาบารมี พระเจ้าปิลยักษ์ทรงประสงค์จะรู้ว่าเป็นใคร เทพหรือนาคจึงยิงศรถูกสุวรรณสาม สุวรรณสามได้รับความเจ็บปวดอย่างแรงกล้า แต่ไม่โกรธผู้ยิงหรือเกรงกลัวความตาย แต่กลับคร่ำครวญห่วงใยบิดามารดาพระเจ้าปิลยักษ์ ทรงสอบถามจนทราบเรื่องราว ทำให้พระองค์ทรงสำนึกผิด และให้สัญญากับสุวรรณสามว่า จะสละราชสมบัติมาปรนนิบัติเลี้ยงดูดาบส ดาบสินีแทน สุวรรณสาม สุวรรณสามกล่าวฝากฝังบิดามารดาแล้วก็สลบไป พระเจ้าปิลยักษ์เสด็จไปที่อาศรม ดาบสดาบสินีรู้ว่าไม่ใช่สุวรรณสาม พระองค์จึงต้องสารภาพและพาดาบสทั้งสองไปยังที่สุวรรณสามนอนสลบอยู่ ดาบสประคองศีรษะสุวรรณสามส่วนดาบสินีประคองเท้า แล้วทั้งสองก็ร้องไห้คร่ำครวญ ดาบสินีรู้สึกว่าร่างกายของสุวรรณสาม ยังมีไออุ่นอยู่จึงรู้ว่ายังไม่ตายดาบสทั้งสองจึงตั้งสัตยาธิษฐาน ด้วยบุญกุศลที่สุวรรณสามปรนนิบัติเลี้ยงดูบิดามารดา ทำให้พิษและบาดแผลหายได้ สุวรรณสามพลิกฟื้นขึ้น เทพธิดาสุนทรีซึ่งเคยเป็นมารดาสุวรรณสามในอดีตชาติ และคอยดูแลคุ้มครองสุวรรณสามอยู่ก็ตั้งสัตยาธิษฐานขึ้นบ้าง สุวรรณสามก็สามารถลุกขึ้นนั่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ พร้อมกันนี้ ดวงตาของดาบสดาบสินีก็คืนดีดังเดิมอีกด้วย สุวรรณสามกล่าวให้โอวาทพระเจ้าปิลยักษ์ให้กระทำดีต่อพระชนกชนนี พระมเหสี พระโอรสธิดา ข้าราชบริพาร ชาวเมือง บำรุงสมณพราหมณ์ เมตตาสัตว์นานาชนิด และประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ




ชาติที่พระเนมิราช







พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเนมิราช
ทรงบำเพ็ญอธิฐานบารมี


เนื้อเรื่อง

พระเจ้าเนมิราช เป็นกษัตริย์สืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์ของพระเจ้ามฆเทวะ ซึ่งมีกษัตริย์สืบเชื้อสายกันมาถึง 84,000 พระองค์ ครองราชสมบัติแห่งเมืองมิถิลา แคว้นวิเทหะพระองค์ทรงยินดีในการบริจาคทาน โปรดให้สร้างโรงทาน 5 แห่ง ที่ประตูเมืองทั้ง 4 ด้าน และกลางเมืองอีก 1 แห่ง นอกจากนี้ พระองค์ยังแสดงธรรมชักชวนชาวเมืองทำบุญ ให้ทานรักษาศีลพระองค์มีความสงสัยว่าการให้ทาน กับการรักษาศีลอย่างไหนมีผลมากกว่ากันในคืน 15 ค่ำ วันหนึ่ง ท้าวสักกเทวราชเสด็จมาถึงห้องบรรทม และได้ตรัสตอบว่า การรักษาศีลมีผลมากกว่าการให้ทาน เพราะการให้ทานส่งผลให้เกิดได้แต่ในสวรรค์ แต่การรักษาศีล ส่งผลให้ไปเกิดได้ถึงพรหมโลก การให้ทานและการรักษาศีลต่างเป็นความ ดีจึงควรทำควบคู่กันไป เทพทั้งหลายได้ทราบเรื่องพระเจ้าเนมิราชจากท้าวสักกะจึงทูลขอให้พระองค์อัญเชิญพระเจ้าเนมิราชมายังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะทรงใช้ให้มาตลีเทพบุตรขับเวชยันตราชรถมารับพระเจ้าเนมิราช ขณะที่พระองค์ประทับอยู่มหาปราสาทท่ามกลางหมู่อำมาตย์ และข้าราชบริพาร พระเจ้าเนมิราชทรงรับคำเชิญ ขึ้นประทับเวชยันตราชรถ มาตลีเทพบุตรพาพระองค์เที่ยวชมขุมนรก 15 ขุม คือ เวตรณีนรก นรกสุนัข นรกคูถ นรกน้ำเหลืองน้ำหนอง นรกเบ็ด นรกภูเขาเหล็กแดง นรกบ่อไฟ นรกสัตว์น่าเกลียด เป็นต้น แล้วมาตรี เทพบุตรก็นำพระองค์ไปชมสวรรค์ บันดาลให้สวรรค์ทุกชั้นปรากฏให้เห็นหลังจากนั้นก็นำเข้าเฝ้าท้าวสักกะ ณ สุธรรมาเทวสภา ท้าวสักกะเชิญชวนให้พระเจ้าเนมิราชเสวยทิพยสมบัติอยู่กับพระองค์ พระเจ้าเนมิราชทรงปฏิเสธ ขอกลับไปสร้างบุญกุศลของพระองค์ เองให้มาก เมื่อพระเจ้าเนมิราชเสด็จกลับมา พระองค์ตรัสเล่าเรื่องนรกสวรรค์ และผลการกระทำให้ข้าราชบริพารและชาวเมืองได้ฟัง ทำให้ทุกคนยึดมั่นในการทำความดีมากยิ่งขึ้น พระเจ้าเนมิราชเสวยราชย์ด้วยความผาสุกสืบมา จนล่วงเข้าสู่วัยชราพระองค์ก็เสด็จออกผนวชอยู่ใน อุทยานสวนมะม่วง ตามโบราณราชประเพณีของราชวงศ์ทุกพระองค์ พระองค์เจริญพรหมวิหาร 4 สำเร็จฉาณสมาบัติ เมื่อสิ้นอายุขัยได้ไปเกิดบนพรหมโลก


ชาติที่พระมโหสถ







พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระมโหสถ
ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี


เนื้อเรื่อง

มโหสถเป็นบุตรชายของท่านเศรษฐีสิริวัฒกะกับนางสุมนาเทวี ณ หมู่บ้านปาจีนวยมัชคาม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองมิ ถิลา แคว้นวิเทหะ เมื่อคลอดออกมาจากครรภ์มารดาได้ถือแท่งยาออกมาด้วยจึงได้ชื่อว่า มโหสถ (ผู้มียาขนานเอก)และพอผนยานี้ทาหน้าผากท่านเศรษฐีเพียงเล็กน้อยท่านก็หายจากโรคปวดศีรษะ ซึ่งเป็นมานานถึง 6 ปี สิริวัฒกเศรษฐีแจกจ่ายยารักษาแก่คนทั่วไป จนเลื่องลือไปทั่วเมื่อมโหสถมีอายุได้ 7 ปี ได้สร้างศาลาใหญ่ไว้กลางหมู่บ้าน ให้เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทางและศาลาแห่งนี้ มโหสถได้ใช้ตัดสินคดีต่าง ๆ อย่างชาญฉลาด ดังเช่น คดีลักวัวมโหสถให้วัวกินน้ำใบประยงค์โขลก วัวสำรอกอาหารออกมา ผู้เป็นเจ้าของจะสามารถบอกชนิดของอาหารวัวได้ถูกต้อง อีกคดีหนึ่ง คดีหญิงแย่งลูก มโหสถให้หญิ่งทั้งสองดึงแย่งเด็กกัน ผู้ที่ปล่อยมือเพราะสงสารเด็กคือมารดาที่แท้จริงของเด็กพระเจ้าวิเทหราชกษัตริย์แห่งเมืองมิถิลา ทรงทดลองภูมิปัญญาของมโหสถโดยส่งไม้ตะเคียนกลึงยาว 1 คืบ ให้หาด้านโคนและปลาย มโหสถเอาเชือกผูกกลางท่อนไม้หย่อนลงในน้ำ โคนไม้จะจมน้ำก่อน พระเจ้าวิเทหราชรับสั่งให้มโหสถเข้าเฝ้า พระองค์มีความเชื่อว่า บิดามารดาย่อดีกว่าบุตรเสมอ มโหสถกราบทูลเปรียบเทียบกับลาที่ตกลูกเป็นม้าอัสดร และสรุปว่า ไม่แน่ว่าบิดามารดาจะดีกว่าบุตรเสมอไป พระเจ้าวิเทหราชพอพระทัยให้มโหสถเข้ารับราชการ มโหสถเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าวิเทหราชและพระนางอุทุมพรเมื่อมโหสถอายุ 16 ปี ออกเดินทางเสาะหาคู่ครอง พบสาวชาวนานางหนึ่งอยู่หมู่บ้านอุตตรวยมัชคาม ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองมิถิลา ชื่อ อมรกุมารี นางมีรูปสวยและฉลาด มโหสถได้ทดลองจนแน่ใจ จึงรับมาเป็นภรรยาขณะรับราชการ ปุโรหิตทั้ง 5 คน คือ เสนกะ ปุกุกุสะ เทวินท์ และกามินท์ มีความอิจฉามโหสถ พยายามใส่ร้ายว่าเป็นกฏบอยู่เนือง ๆ มโหสถหนีไปอยู่กับช่างปั้นหม้อทางด้านใต้ของเมืองมิถิลา เทพประจำเมืองช่วยเหลือ โดยปรากฏตัวเข้าไปถามปัญหาพระเจ้าวิเทหราช ปุโรหิตทั้ง 5 คนไม่สามารถตอบคำถามได้ จึงต้องติดตามมโหสถมาตอบ พระเจ้าวิเทหราชยิ่งโปรดปรานยิ่งขึ้น ทรงมอบราชกิจต่างประเทศให้บริหารแคว้นวิเทหะรุ่งเรือง และได้ทำหน้าที่สั่งสอนธรรมะแก่พระองค์ด้วยในชมพูทวีป มีกษัตริย์ครอบครอบแว่นแคว้นต่าง ๆ จำนวน 101 พระองค์ กษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าจุลลนีคิดการใหญ่โดยมีปุโรหิตเกวัฏฏะเป็นที่ปรึกษา พระเจ้าจุลลนียกกองทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ ได้สำเร็จ จนเหลือแคว้นวิเทหะเป็นแคว้นสุดท้ายจึงยกกองทัพเข้าล้อมเมืองมิถิลาไว้ มโหสถวางแผนป้องกันเมือง และตีทัพพระเจ้าจุลลนีแตกไปได้ต่อมา มโหสถสามารถทำให้พระเจ้าจุลลนีทรงยกพระธิดาพระนามว่า ปัญจาลจันที ให้เป็นมเหสีของพระเจ้าวิเทหราชเมื่อพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตแล้ว มโหสถได้อภิเษกพระโอรสพระองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์แทน แล้วก็ทูลลาไปรับราชการกับพระเจ้าจุลลนีที่เมืองอุตตรปัญจาลนคร ตามที่พระองค์ขอร้อง และอยู่ด้วยความผาสุก

 ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ คนมีปัญญาย่อมหาทรัพย์ได้ และรักษาไว้ได้ด้วย




ชาติที่6 พระภูริทัต







พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระภูริทัต
ทรงบำเพ็ญศีลบารมี


เนื้อเรื่อง

พระนางสมุททชา พระธิดาของพระเจ้าพรหมทัต ได้อภิเษกกับพญานาคฐตรฐแห่งนาคพิภพ มีพระโอรส 4
พระองค์ คือ สุทัสสนกุมาร ทัตตกุมาร สุโภคกุมาร และอริฏฐกุมาร ทัตตกุมารฉลาดกว่าผู้อื่น บิดาจึงมอบหมาย
งานให้ทำมากกว่า คราวหนึ่ง ทัตตกุมาร ได้ติดตามพระบิดาและท้าววิรูปักษ์เข้าเฝ้าท้าวสักกเทวราช ทัตตกุมาร
ได้แสดงความสามารถให้ท้าวกักกะโปรดปราน จึงตั้งชื่ให้ว่า ภูริทัตตกุมาร (พระกุมารผู้มีปัญญากว้างขวางดุจแผ่นดิน) ภูริทัตตกุมารหมั่นรักษาศีล เพราะรู้ว่าผลของการรักษาศีลจะได้เกิดเป็นเทพบนสวรค์ ครั้งหนึ่งพระองค์
ขออนุญาตพระบิดาพระมาร ดามารักษาศีลบนโลกมนุษย์ พระองค์รักษาศีลอย่างเคร่องครัด อธิษฐานจิตไว้มั่น
คงว่า หนัง เอ็น กระดูก เลือดเนื้อ หากผู้ใดต้องการก็จง เอาไปเภิด ไม่ปกป้อง ไม่หวงยินดีสละให้พรานเนื้องชาวเมืองพาราณสีสองพ่อลูก ออกล่าเนื้อมาถึงริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ใกล้บริเวณที่ภูริทัตตกุมารจำศีลอยู่เมื่อเห็นภูริทัตตกุมาร ก็เข้าไปสอบถาม พระภูริทัตบอกตามความจริงแล้วพาพรานทั้งสองไปเที่ยวเสวยสุขในนาคพิภพ เวลาผ่านไป 1 ปีพรานทั้งสอง ลาพระภูริทัตกลับโลกมนุษย์ ต่อมา มีพราหมณ์คนหนึ่ง เรียนมนต์จับงูจากฤาษีตนหนึ่ง มนต์นั้นชื่อ มนต์อาลัมพายน์ คนทั่วไปจึงเรียกเขาว่า พราหมร์อาลัมพายน์ อำนาจมนต์ช่วยให้ได้แก้ววิเศษจากพวกนางนาค พรานผู้เป็นพ่อเห็นเข้าต้องการได้ จึงแลกเปลี่ยนด้วยการบอกที่รักษาศีลของพระภูริทัต และทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ พระภูริทัตไม่ยอมไม่ยอมให้ความโกรธเกิดขึ้น เพราะต้องการรักษาศีลพราหมณ์อาลัมพายน์ได้นำ พญานาคภูริทัตไปแสดงกลเรี่ยไรเงินได้จำนวนมากพระนางสมุททชาทรงฝันร้าย และไม่เห็นพระภูริทัตมาเฝ้าดังเคย จึงแน่พระทัยว่าพระโอรสประสบภัย พระโอรสทั้งสามพระองค์ รับอาสาออกติดตาม สุทัสสนกุมารแปลงตัวเป็นฤาษี ติดตามไปจนพบพราหมณ์อาลัมพายน์กำลังเปิดแสดงที่ประตูพระราชวังพาราณสี พญานาคภูริทัตเห็นฤาษีแปลงก็เลื้อยเข้ามาซบ ร้องไห้แทบเท้าพี่ชายฤาษีแปลงวางแผนช่วยเหลือ โดยท้าให้สู้กับพิษของเขียดซึ่งเป็นนาง นาคแปลง พิษร้ายนั้นได้ถูกผิวหนังพราหมณ์อาลัมพายน์จนกลายเป็นโรคเรื้อน เขาตกใจ ยอมปล่อยพญานาคภูริทัต สุทัสสนกุมารและ พระภูริทัตเข้าเฝ้าพระเจ้าพาราณสี กราบทูลให้พระองค์ทรงทราบว่า เป็นพระโอรสของพระนางสมุททชาพระขนิษฐาของพระองค์ พระภูริ ทัตกลับไปพักรักษาพระองค์ แล้วได้กล่าวว่า พราหมณ์กับผู้ครองเรือนปุถุชนทั่วไปยังหมกมุ่นในกามคุณ ยังต้องการทรัพย์สิน ข้าว บ่าวไพร เหมือนกัน

การทำความดีนั้นอาจมีอุสรรคมาทดสอบแต่สุดท้ายก็จะประสบชัยชนะ





ชาติที่7 พระจันทกุมาร







พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายจันทกุมาร
ทรงบำเพ็ญขันติบารมี


เนื้อเรื่อง


เจ้าชายจันทกุมาร เป็นโอรสของพระเจ้าเอกราชแห่งเมืองปุปผวดี พระบิดาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอุปราช ทำหน้าที่ว่าราชการ แทน พระเจ้าเอกราชมีปุโรหิตคนหนึ่งชื่อ กัณฑาหาละทำหน้าที่ถวายคำแนะนำและตัดสินคดีความ เข้าทำหน้าที่ดีในตอนแรก ๆ ต่อมารับ สินบน จนเจ้าชายจันทกุมารทรงทราบเรื่อง และช่วยพลิกคดีให้เจ้าทุกข์ที่ได้รับความอยุติธรรม เมื่อพระเจ้าเอกราชทรงทราบ จึงแต่งตั้ง ให้เจ้าชายจันทกุมารเป็นผู้พิพากษา แทนปุโรหิตกัณฑหาละ ทำให้กัณฑหาละโกรธแคนหาทางทำลายล้างเจ้าชายจันทกุมารตลอดมา คืนหนึ่ง พระเจ้าเอกราชทรงฝันเห็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เห็นท้าวสักกเทวราชประทับในปราสาทแวดล้อมด้วยเทพธิดาความฝันทำ ให้พระองค์ปราถนาไปเที่ยวสวรรค์ กัณฑหาละเห็นเป็นโอกาส จึงทูลแนะนำให้บูชายัญด้วยพระมเหสี พระโอรส พระธิดา ถวายเทพเจ้า พระเจ้าเอกราชทรงเบาปัญญาเชื่อกัณฑหาละ รับสั่งให้นำพระมเหสี 4 พระองค์ พระโอรส 5 พระองค์ พระธิดา 4 พระองค์ รวมทั้งเศรษ ฐีประจำแคว้น 4 คนมารวมกันไว้ นอกจากนี้  พระองค์ให้นำพาหนะสำคัญ มีทั้งช้าง ม้า โค อุสุภราช (วัวตัวผู้ลักษณะดี) มาบูชายัญด้วย พระบิดาพระมารดาของพระเจ้าเอกราชเสด็จมาขอร้องก็ไม่ทรงยอม ต้องเสด็จกลับไปด้วยความเสียพระทัย เจ้าชายจันทกุมารทรงทราบว่าพระองค์เป็นต้นเหตุเพราะไปขัดแย้งกับปุโรหิตกัณฑหาละ จึงเป็นหน้าที่ที่พระองค์ต้องแก้ไข พระองค์ ทรงขอร้องพระบิดาจนพระทัยอ่อน ยินยอมปล่อยทุกคนถึง 3 ครั้ง แต่ทุกครั้งปุโรหิตกัณฑหาละกราบทูลทัดทาน จนพระเจ้าเอกราชรับสั่ง ให้จับทุกพระองค์เป็นครั้งที่ 4 แล้วพาออกนอกพระนคร ชาวเมือง
ร้องไห้คร่ำครวญทั่วพระนคร บรรยากาศเต็มไปด้วยความเศร้าโศก เจ้า ชายจันทกุมารประทับยืนอยู่ปากหลุมบูชายัญ วิงวอนพระบิดาเป็นครั้งที่ 4 พระนางจันทาชายาของเจ้าชายจันทกุมารได้ช่วยวิงวอนด้วย แต่พระเจ้าเอกราชไม่พระทัยอ่อน ยืนยันจะบูชายัญ ก่อนที่เจ้าชายจันทกุมารจะถูกประหารด้วยคมดาบของกัณฑหาละท้าวสักกเทวราชถือตะบองเหล็กเสด็จมาทำลายพิธีตรัสตำหนิ พระเจ้าเอกราชอย่างรุนแรง พระเจ้าเอกราชตกพระทัยกลัว รับสั่งให้ปล่อยทุกคนและสัตว์ทั้งหลาย ชาวเมืองได้โอกาสเข้ารุมทุบตีปุโรหิต กัณฑหาละ จนถึงแก่ความตาย จากนั้นจะเข้าปลงพระชนม์พระเจ้าเอกราช เจ้าชายจันทกุมารเข้าขัดขวาง และอ้อนวอนขอชีวิต ชาว เมืองยอมยกให้ แต่ให้เนรเทศไปอยู่ในหมู่บ้านคนจัณฑาล แล้วอภิเษกเจ้าชายจันทกุมารเป็นกษัตริย์ พระองค์เสด็จไปเยี่ยมพระบิดาอยู่ เนืองๆ และปกครองเมืองปุปผวดีให้ผาสุกสืบมา 

การฟังเรื่องราวใด ต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบมิฉะนั้นจะหลงเชื่อและกระทำผิดเสียหายได้





ชาติที่8 พระนารทพรหม




พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระนารทพรหม
ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี


เนื้อเรื่อง

พระเจ้าอังคติราชเป็นกษัตริย์ซึ่งทรงทศพิธราชธรรมแห่งเมืองมิถิลา พระองค์มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง พระนาม
ว่ารุจา และมี อำนาตย์ใหญ่ที่รับใช้ใกล้ชิดอยู่ 3 คน คือ วิชัยอำมาตย์ สุนามอำมาตย์และอลาตอำมาตย์ คืนหนึ่งเป็นคืนวันเพ็ย เดือน 12 ท้องฟ้าแจ่มใส พระเจ้าอังคติราชตรัสปรึกษากับอำมาตย์ทั้ง 3 ว่า ควรทำอะไรจึงจะเป็นประโยชน์ อลาตอำมาตย์กราบทูลแนะนำให้ยกทัพไปตีเอาบ้านเมือง สุนามอำมาตย์กราบทูลให้จัดงานเลี้ยง ขับร้องฟ้อนรำให้สนุกสนาน ส่วนวิชัย อำมาตย์กราบทูลให้เสด็จไปสนทนาธรรมกับสมณพราหมณ์ พระเจ้าอังคติราชตกลงพระทัยไปสนทนากับคุณาชีวก ซึ่งเป็นนักบวชที่มีชื่อ เสียง มีคนนับถือมากในเวลานั้น พระองค์ตรัสถามถึงหนทางไปสู่สวรรค์ หนทางไปสู่นรกและการปฏิบัติต่อบิดามารดา ครูอาจารย์ บุตร ภรรยา ผู้เฒ่าผู้แก่ สมณพราหมณ์ พลพาหนะและบ้านเมือง คุณาชีวกตอบตามความรู้ความเข้าใจของตนว่า ไม่มีบุญ ไม่มีบาป บิดามารดาไม่มี สัตว์คน เสมอกัน จะได้ดีได้ชั่วเอง เวียนว่ายตายเกิด 64 กัปป์ก็บริสุทธิ์เอง อลาต อำมาตย์กล่าวสนับสนุนในด้านไม่มีบาปไม่มีผลของบาป เขา ระลึกได้ว่า ชาติที่แล้วเขาเป็นคนฆ่าวัว ในชาตินี้ เขากลับได้มาเกิดในตระกูลขุนนาง วีรกะ เป็นชายเข็ญใจผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในที่นั้นกล่าวสนับ สนุนคำสอนที่ว่า บุญและผลของบุญไม่มี เขาระลึกได้ว่า เขาเคยเกิดเป็นเศรษฐี ทำความดีไว้มาก แต่ชาตินี้เขากลับมาเกิดเป็นคนเข็ญใจ คนทั้งสองนี้ระลึกชาติได้เพียงชาติเดียวจึงหลงผิด พระเจ้าอังคติราชหลงผิดเชื่อตามคำสอนของคุณาชีวกจึงเปลี่ยนพระจริยาวัตร เลิกทำความดี หันมาใช้ชีวิตอย่างสำราญ เลิกศึกษา ข้อธรรมต่าง ๆ ไม่สนพระทัยในราชกิจและประชาชนทั้งปวง พระธิดารุจาทรงทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของพระบิดา พระธิดาเสด็จเข้าเฝ้าพระเจ้าอังคติ
ราช ตรัสติงในมิจฉาทิฏฐินั้นแม้ว่าพระ ธิดาจะตรัสอธิบายอย่างไร พระเจ้าอังคติราชก็ไม่ทรงฟัง พระธิดารุจาทรงอ้อนวอนต่อเทพพรหมผู้ทรงธรรมทั้งหลายได้โปรดมาช่วยกลับ พระทัยของพระบิดาให้ถูกต้องด้วยท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง นามว่า นารทะ ทรงได้ยินคำอ้อนวอนเกิดเมตตา จึงแปลงเป็นฤาษีเหาะมาอยู่เฉพาะพระ
พักตร์ทั้งสอง พระองค์ นารทพรหมพยายามอธิบายและพรรณนาถึงโทษของนรกขุมต่างๆ พระเจ้าอังคติราชค่อย
พิจารณาตาม จนกลับมามีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องดุจเดิมพระธิดารุจาดีพระทัยมาก แคว้นวิเทหะกลับมามี
ความสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง

ไม่ควรคบและเชื่อฟังคนพาล ควรคบแต่นักปราชญ์ที่เป็นคนดีมีศีลธรรม



ชาติที่9 พระวิธูรบัณฑิต






พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นวิธูรบัณฑิต
ทรงบำเพ็ญสัจจบารมี


เนื้อเรื่อง

พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะครองเมืองอินทปัตย์แคว้นกุรุวันหนึ่งพระองค์ทรงแสวงหาความ สงบสุขในมิคาชินอุทยานพระองค์ได้ พบแปลง 3 คน คือ ท้าวสักกะ พญาครุฑ พญานาค คนทั้ง 4 หาที่วิเวกรักษาอุโบสถศีล เมื่อ
ได้พบกันถูกชะตากัน เพราะเคยเป็นเพื่อน กันมาแต่อดีตชาติ พระองค์ได้สนทนากันว่า ใครรักษาศีลได้ดีกว่ากัน
เมื่อตกลงกันไม่ได้ พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะจึงพาชายแปลงทั้ง 3 คนมาหาวิธูรบัณฑิต ซึ่งเป็นบัณฑิตประจำราช
สำนัก วิธูรบัณฑิตวินิจฉัยให้ทั้ง 4 พระองค์ ทำความดีสนับสนุนศีลให้สมบูรณ์เสมอกัน ถ้ามีพร้อมใหนบุคคลใด ก็
เป็นเหมือนกำเกวียนที่รวมมั่นอยู่ในดุมเกวียน จะทำให้สงบระงับบาปได้เมื่อพญานาคกลับถึงนาคพิภพ ได้เล่าให้นางวิมลามเหสีฟัง นางมีความศรัทธาใคร่ได้ฟังธรรมจากวิธูรบัณฑิตนางแสร้งป่วย และบอกพญานาคว่า ต้องการหัวใจของวิธูรบัณฑิต นางอิรันทตีซึ่งเป็นธิดาของพญานาคกับนางวิมาลา มีรูปร่างสวยงาม ฉลาด เมื่อ ทราบถึงความต้องการมารดา ก็รับอาสาและขึ้นมาสู่โลกมนุษย์ เหาะไปที่ภูเขากาลคีรี แล้วขับร้องเพลงซึ่งมีเนื้อความว่า ผู้ใดนำหัวใจ วิธูรบัณฑิตมาได้ นางจะยอมเป็นภรรยาขณะนั้นปุณณกยักษ์ควบม้าเหาะผ่านมา เห็นนางอิรันทตีก็เกิดหลงรัก จึงเข้ารับอาสา ปุณณกยักษ์แปลงเป็นหนุ่มน้อย เข้าไป ท้าเล่นสกากับพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ ซึ่งกำลังเป็นประธานในที่ประชุมกษัตริย์ทั่วทั้งชมพูทวีปในที่สุดปุณณกยักษ์เป็นฝ่ายชนะ ขอสิ่ง พนัน คือ วิธูรบัณฑิต พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะไม่ทรงยินยอม เมื่อทั้งสองตกลงกันไม่ได้ก็ไปหาวิธูรบัณฑิตตัดสิน วิธูรบัณฑิตตัดสินให้ปูณณกยักษ์เป็นฝ่ายถูกวิธูรบัณฑิตแสดงธรรมถวายพระเจ้าธนัญชัย และร่ำลาบุตรภรรยา สั่งสอนให้บุตรชายทั้ง สอง รู้ถึงข้อวัตรปฏิบัติที่ดีของข้าราชการ ต่อจากนั้นก็เดินทางไปกับปุณณกยักษ์ ระหว่างทาง ปุณณกยักษ์พยายามฆ่าวิธูรบัณฑิตครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ด้วยบุญบารมีของวิธูรบัณฑิต ทำให้แคล้วคลาดจากความตาย มาตลอด วิธูรบัณฑิตได้แสดงธรรมแก่ปุณณกยักษ์ ปุณณกยักษ์เกิดความเลื่อมใส จึงพาไปนาคพิภพ วิธูรบัณฑิตได้แสดงธรรมแก่พญานาค และนางวิมลา ให้ทั้งสองมีเมตตาจิตต่อนาคบริวาร ปรารถนาให้เขาทั้งหลายมีความสุขพญานาคกับนางวิมลายกนางอินันทตีให้ปุณณกยักษ์ ตามสัญญา ปุณณกยักษ์ปลาบปลื้มใจมาก และนำวิธูรบัณฑิตกลับสู่เมืองอินทปัตถ์

ผู้มีสัจจะต่อตนเองและผู้อื่นเป็นคนดี เมื่อประสบภัยย่อพ้นภัยได้





ชาติที่10 พระเวสสันดร






พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร
ทรงบำเพ็ญทานบารมี

เนื้อเรื่อง

เทพธิดาผุสดี อัครมเหสีของท้าวสักกเทวราช ได้รับพร 10 ประการเมื่อต้องจุติมาปฏิสนธิเป็นมนุษย์ พรประการ
หนึ่ง คือ ให้มี โอรสที่ทรงพระเกียรติยส พระนางได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสัญชัยแห่งแคว้นสีพี และประสูติพระ
โอรสที่ตรอกพ่อค้าขณะเสด็จประพาส พระนคร จึงขนานพระนามว่า พระเวสสันดร (ผู้เกิดท่ามกลางพ่อค้า)
พระเวสสันดรครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 16 พรรษา อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรี เจ้าหญิงแห่งแคว้นมัททะ มี
พระโอรสและพระ ธิดา คือ เจ้าชายชาลี กับเจ้าหญิงกัณหา พระเวสสันดรมีพระทัยกระหายการให้ทาน จึงสร้าง
โรงทานถึง 6 แห่งต่อมาได้พระราชทาน ช้างปัจจัยนาค ซึ่งเป็นช้างมงคลคู่พระนครให้แก่ทูตของแคว้นกาลิงคะ
ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พากันไปกราบทูลพระเจ้ากรุงสัญชัยให้เนรเทศ พระเวสสันดรได้เสด็จออกบวชเป็นฤาษีที่
เขาวงกต โดยพระนางมัทรี เจ้าชายชาลี เจ้าหญิงกัณหาติดตามไปด้วย ในแคว้นกาลิงคะ พราหมณ์ชราชูชก มี
ภรรยาสาวชื่อนางอมิตตาคา นางให้ชูชกไปขอพระกุมารชาลีกัณหามารับใช้ชูชกออกเดินทาง ไปเขาวงกต ได้พบกับพรานเจตบุตร ซึ่งพระเจ้าเจตราชทรงตั้งไว้ถวายการอารักขาพระเวสสันดร ชูชกอ้างว่าตนเป็นทูตจากแคว้นสีพีมา ทูลเชิญพระเวสสันดร พระนางมัทรีและพระโอรสธิดากลับเมือง จึงผ่านไปได้ และเพื่อทราบทางเข้าสู่เขาวงกตชูชกไปยังพระอาศรมของ พระเวสสันดร ได้กล่าวกับพระอัจจุตฤาษีว่าจะมาสนทนาธรรมกับพระเวสสันดร ชูชกรอให้รุ่งเช้า พระนางมัทรีออกไปหาผลไม้ จึงเข้าไป ขอสองกุมาร พระเวสสันดรทรงยินดียกให้ พร้อมทั้งคาดค่าตัวไว้ด้วย ชูชกรีบนำสองกุมารไปก่อนที่พระนางมัทรีเสด็จกลับ ท้าวสักกะเกรงว่าจะมีผุ้มาขอพระนางมัทรี จึงแปลงเป็นพราหมณ์มาขอทูลขอ แล้วถวายคืน แล้วได้ถวายพร 8 ประการ ก่อนเสด็จกลับ ดาวดึงส์ ชูชกพาพระกุมารชาลีกัณหามาถึงทางสองแพร่ง ด้วยบุญบารีของพระกุมาร จึงบันดาลให้ชูชกตัดสินใจไปเมือง
เชตุดรเข้าเฝ้าพร พระเจ้าสัญชัยและพระนางผุสดีทรงไถ่พระนัดดา แล้วพระองค์ตรัสสั่งให้จัดกระบวนข้าราชบริพาร ไปรับพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ที่เขาวงกต เมื่อกษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์ ทรงพบกัน ก็ดีพระทัย
จนสลบลง ขณะนั้นได้เกิดฝนโบขรพรรษ ต้องพระวรกาย ช่วยให้ทุกพระองค์ และทุกคนได้สติฟื้นขึ้นมา แล้วเสด็จกลับสู่พระนคร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทพสามฤดู

เทพสามฤดู   เป็นนิทาน พื้นบ้านของไทย ปรากฏเป็นหนังสือครั้งแรก โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดเกาะ   เคย ถูกสร้างเป็นละคร  ในปี 2517 ในชื่อ ฝนสามฤดู ...