วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

โสนน้อยเรือนงาม

พบกับวรรณคดีไทยเรื่องเยี่ยม บอกเล่าเรื่องราวที่แฝงไปด้วยคติชีวิตที่มีคุณค่า เพื่อเป็นแนวทางปลูกฝังความดีงามให้งอกเงยในจิตใจของเด็กยุคใหม่ เรื่องราวของ "เจ้าหญิง" ผู้ถือกำเนิดมาพร้อมกับ "เรือนไม้โสน" จึงได้ชื่อว่า "โสนน้อยเรือนงาม" แต่ด้วยดวงชะตาที่พลิกผันทำให้ต้องระหกระเหินอยู่ในป่าตามลำพัง พระอินทร์จึงแปลงกายเป็นชีปะขาวมามอบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นคืนได้กับเธอ


     




เนื้อเรื่อง

       ณ นครแก้วนพรัตน์ เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งซึ่งปกครองโดยท้าวกาลศึกละพระมเหสีประไพลักษณา  ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสรูปงาม  พระนามว่า พระวิจิตรจินดา ครั้นพระวิจิตรจินดาเจริญวัยขึ้นเป็นหนุ่นได้ขออนุญาตพระบิดาและพระมารดาไปประพาสป่า
    พระวิจิตรจินดาชมนกชมไม้  จนกระทั่งเดินมาถึงต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง  จึงสั่งให้เสนาอำมาตย์และทหารหยุดพัก  ส่วนพระองค์ไปนั่งพักบนแท่นศิลาใต้ต้นไทร  ทันใดนั้นพระองค์ก็ล้มลงและสิ้นพระชนม์ทันที
   เหล่าทหารต่างตกใจรีบพากันเข้าไปช่วยนวดเฟ้นแต่ก็ไม่สามารถทำให้พระวิจิตรจินดารู้สึกพระองค์เสนาอำมาตย์จึงสั่งให้ทหารกลับไปแจ้งข่าวร้ายให้พระราชาและพระมเหสีทราบ  ทั้งสองพระองค์ฟังเรื่องราวด้วยความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก
   ท้าวกาลศึกสั่งให้ขุนนางผู้ใหญ่จัดขบวนไปอัญเชิญพระศพกลับพระนคร  เมื่อมาถึง  ท้าวกาลศึกเห็นพระศพและแปลกใจที่พระโอรสสิ้นพระชนม์โดยไม่ทราบสาเหตุ  จึงให้โหรหลวงทำนายดวงชะตาของพระโอรส
   โหรหลวงกราบทูลว่า   เมื่อชาติปางก่อน  พระโอรสเคยฆ่าพญานาคตาย พญานาคคิดอาฆาตพยาบาท  จึงมาคายพิษไว้บนแท่งศิลาเพื่อรอเวลาแก้แค้น  เมื่อพระโอรสประทับบนแท่นศิลาจึกถูกพิษร้ายของพญานาค  ทำให้สิ้นพระชนม์  ซึ่งถือเป็นการชดใช้หนี้กรรมเก่าที่พระองค์ได้กระทำไว้
   โหรหลวงกราบทูบต่อพระโอรสมีโอกาสฟื้นโดยจากนี้ไปอีกเจ็ดปี  จะมีพระธิดาจากต่างเมืองมาช่วยชุบชีวิต   กษัตริย์ทั้งสองจึงนำพระศพของพระโอรสตั้งไว้บนพลับพลาในพระราชอุทยานเพื่อรอคอยพระธิดาจากต่างเมืองมาช่วย
   กล่าวถึงนครโรมวิสัย  มีพระราชาปกครองนคร  พระนามว่า ท้าวหัสวิชัยและพระมเหสีคู่พระทัยพระนามว่า เกศิณี ต่อมานางได้ให้กำเนิดพระธิดาพร้อมมีเรือนไม้โสนติดมาด้วย  ท้าวหัสวิชัยจึงประทานนามให้ว่า โสนน้อยเรือนงาม
   ต่อมาเมื่อพระธิดาโสนน้อยเจริญวัยได้สิบห้าปีบ้านเมืองเกิดข้าวยากหมากแพง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล  ท้าวหัสวิชัยให้โหรหลวงทำนาย พบว่าบัดนี้ดวงชะตาพระธิดาเป็นกาลกิณีต่อบ้านเมืองหากให้อยู่ในพระนครต่อไปราษฎรจะได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส   กษัตริษย์ทั้งสองตกใจมากแต่ไม่มีทางเลือกอื่นใด  เพื่อหพระธิดาโสนน้อยเห็นแก่บ้านเมืองและราษฎร   จึงให้ออกจากพระนครไปก่อน
   พระธิดาโสนน้อยแต่งเป็นหญิงชาวบ้านพร้อมนำเครื่องทรงห่อผ้าออกเดินทางเข้าป่าเพียงลำพัง           กล่าวถึงพระอินทร์บนสวรรค์ เห็นว่าพระธิดาโสนน้อยกำลังตกระกำลำบาก  จึงแปลงกายเป็นชีปะขาวลงมาช่วยและมอบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้ฟี้นขึ้นมาได้
   ระหว่างทาง   พระธิดาโสนน้อยได้พบหญิงชาวป่าคนหนึ่งถูกงูกัดนอนตายอยู่  พระธิดาเกิดความสงสารจำนำยาวิเศษชโลมที่บาดแผลทำให้หญิงสาวฟื้นขึ้นมา  นางขอบใจพระธิดาโสนน้อยที่ช่วยชีวิตตนไว้และขอติดตามเป็นทาสรับใช้และแนะนำตนเองว่าชื่อ  กุลา
  แล้วทั้งสองก็ออกเดินทางจนกระทั่งถึงเมืองแก้วนพรัตน์และได้ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระวิจิตรจินดา  พระธิดาโสนน้อยจึงขออาสารักษาพระโอรส ทหารจึงพาหญิงสาวทั้งสองเข้าเฝ้าพระราชและพระมเหสี  พระธิดาโสนน้อยกราบทูลว่านางเป็นธิดากษัตริย์แห่งนครโรมวิสัยชื่อโสนน้อยเรือนงามและกุลาเป็นสาวใช้ผู้ติดตาม
   ก่อนเริ่มพิธี  พระธิดาโสนน้อยนำเครื่องทรงมาสวมใส่แล้วนำยาวิเศษไปชโลมตัวพระวิจิตรจินดาเมื่อยาออกฤทธิ์   พิษของพญานาคก็เป็นไอออกมา  พระธิดาโสนน้อยรู้สึกร้อนไปทั่วกายจึกถอดเครื่องทรงและฝากผอบยาไว้กับกุลาแล้วออกไปอาบน้ำ
   ฝ่านกุลาเห็นพระวิจิตรจินดารูปงามก็เกิดหลงรักจึงคิดแผนร้ายปลอมเป็นพระธิดาโสนน้อย       เมื่อพระธิดาโสนน้อยชำระร่างกายเสร็จแล้วกลับเข้าไปเห็นกุลาแต่งเครื่องทรง  จึงถามกุลาว่าทำไมเอาเปาเสื้อผ้าของนางมาใส่  กุลากลัวพระวิจตรจินดารู้ความจริง  จึงด่าว่าพระธิดาโสนน้อยว่านางเป็นเพียงททาวรับใช้ชื่อกุลา  พระธิดารู้สึกเสียทีกุลาแล้วจำต้องนิ่งเงียบ
   พระวิจิตรจินดาและพระบิดาและพระมารดาก็ยังมีความสงสัยในนางกุลา จึงให้นางเย็บกระทงใบตองถวาย นางกุลาทำไม่ได้โยนใบตองทิ้งไป โสนน้อยเรือนงามเก็บใบตองมาเย็บเป็นกระทงสวยงาม นางกุลาก็แย้งไปถวายพระราชบิดามารดาของพระวิจิตรจินดา พระวิจิตรจินดาไม่อยากอภิเษกกับนางกุลาจึงขอลาพระบิดาพระมารดาไปเที่ยวทางทะเล พระบิดาพระมารดาให้นางกุลาย้อมผ้าผูกเรือ นางกุลาก็ทำไม่เป็น โยนผ้าและสีทิ้ง โสนน้อยเรือนงามเก็บผ้าและสีไปย้อมได้สีงดงาม นางกุลาก็แย้งนำไปถวายพระบิดาพระมารดาอีก
    เมื่อพระวิจิตรจินดาจะออกเรือก็ปรากฎว่าเรือไม่เคลื่อนที่พระวิจิตรจินดาทรงคิดว่าคงมีผู้มีบุญในวังต้องการฝากซื้อของ เรือจึงไม่เคลื่อนที่จึงให้ทหารมาถามรายการของที่คนในวังจะฝากซื้อ ทุกคนก็ได้มีโอกาสฝากซื้อ แต่โสนน้อยเรือนงามอยู่ใต้ถุนถึงไม่มีใครไปถาม เรือก็ยังไม่เคลื่อนที่ พระวิจิตรจินดาจึงให้ทหารกลับไปค้นหาคนในวังที่ยังไม่ได้ฝากซื้อของ ทหารจึงได้ไปค้นหานางโสนน้อยเรือนงามได้ นางจึงฝากซื้อ " โสนน้อยเรือนงาม " เมือพระวิจิตรจินดาเดินทางไป ลมก็บันดาลให้พัดไปยังเมืองโรมวิสัยของพระบิดาของโสนน้อยเรือนงาม พระวิจิตรจินดาซื้อของฝากได้จนครบทุกคน ยกเว้นโสนน้อยเรื่อนงาม พระวิจิตรจินดาจึงสอบถามจากชาวเมือง ชาวเมืองบอกว่าโสนน้อยเรือนงามมีอยู่แต่ในวังเท่านั้น พระวิจิตรจินดาจึงเข้าไปในวังและทูลขอซื้อโสนน้อยเรือนงามไปให้นางข้าทาส พระบิดาของโสนน้อยเรือนงามทรงถามถึงรูปร่างหน้าตาของนางทาส ก็ทรงทราบว่าเป็นพระธิดา จึงมอบโสนน้อนเรือนงามให้พระวิจิตรจินดาและให้ทหารตามมาสองคน.
    เมื่อพระวิจิตรจินดากลับถึงบ้านเมือง ทหารสองคนก็ไปทำความเคารพนางโสนน้อยเรือนงาม และเรือนวิเศษก็ขยายเป็นเรือนใหญ่มีข้าวของเครื่องใช้พระธิดาครบถ้วน โสนน้อยเรือนงามก็เข้าไปอยู่ในเรือนนั้น พระวิจิตรจินดาจึงแน่ใจว่าโสนน้อยเรือนงามเป็นพระราชธิดาที่รักษาตน จึงจะฆ่านางกุลาแต่โสนน้อยเรือนงามขอชีวิตไว้ พระวิจิตรจินดาก็ได้อภิเษกกับนางโสนน้อยเรือนงาม ชาวเมืองทุกคนต่างร่วมแสดงความยินดีกับทั้งสอง
    หลายเดือนผ่านไป  พระวิจิตรจินดาพาพระธิดาโสนน้อยกลับไปเยี่ยมพระบิดาและพระมารดาที่นครโรมวิสัยโดยทางเรือ  ระหว่างทางเกิดพายุอย่างแรงทำให้เรือถล่ม  พระวิจิตรจินดาและพระธิดาโสนน้อยถูกกระแสน้ำพัดไปคนละทิศละทาง   พระธิดาโสนน้อยถูกพัดขึ้นชายฝั่งเขตชาตแดนเมืองยักษ์ที่มีท้าวจตุรพักตร์และพระมเหสีสร้องทองปกครอง นางออกตามหาพระสวามีจนเจอกับเงาะหญิงที่กำลังร่ำไห้กับศพของเงาะชายผู้เป็นสามี  จึงเข้ามาช่วยชุบชีวิตเงาะชายให้ฟื้นเงาะทั้งสองดีใจมากขอเป็นทาสรับใช้และช่วยตามหาพระวิจิตรจินดา
      วันหนึ่ง  ท้าวจตุรพักตร์ออกมาหาอาหารจได้เจอพระธิดาโสนน้อยและเงาะทั้งสอง   จึงจับทั้งสามไปขังไว้  ท้าวจตุรพักตร์เห็นความงามของพระธิดาโสนน้อยก็เกิดหลงรัก  จึงจับนางไปขังไว้ในปราสาท ขณะที่ท้าวจตุรพักตร์พูดหว่านล้อมให้พระธิดาโสนน้อยยอมเป็นพระชายา  และหมายจะแตะเนื้อต้องตัวพระธิดา แต่พระธิดาโสนน้อยไม่ยอมจึงทำให้ท้าวจตุรพักตร์โกรธมากที่ทำอะไรไม่ได้  จึงสั่งทหารให้นำเอาพระธิดาโสนน้อย   ไปขังไว้บนหอคอย
      กล่าวถึงพระวิจิตรจินดา ซึ่งถูกพัดไปยังเกาะแห่งหนึ่ง ขณะที่ออกตามหาพระธิดาโสนน้อยได้เจอกับพระฤๅษี พระฤๅษีทราบเรื่องทั้งหมดด้วยญาณวิเศษ จึงบอกให้พระวิจิตรจินดารีบไปช่วยพระธิดาโสนน้อยซึ่งกำลังตกอยู่ในอันตรายที่เมืองจตุรพักตร์แล้วพระฤๅษีก็ช่วยชี้ทางไปเมืองยักษ์  พระวิจิตรจินดาเดินทางมาถึงเมืองจตุรพักตร์เกิดการต่อสู้กับเหล่าทหารยักษ์  ซึ่งสู่พระวิจิตจินดาไม่ได้ ล้มตายเป็นจำนวนมาก หนึ่งในทหารหนีรอดไปรายงานท้าวจุตรพักตร์ ท้าวจุตรพักตร์โกรธมาก จึงออกมาสู้กับพระวิจิตรจินดา แต่พลาดท่าเสียทีถูกพระวิจิตรจินดาใช้พระขรรค์แทงตาย
     หลังจากนั้น  พระวิจิตรจินดาเข้าไปช่วยพระธิดาโสนน้อยและเงาะทั้งสอง  ก่อนออกเดินทางพระธิดาโสนน้อยได้ใช้ยาวิเศษช่วยชุบชีวิตของท้าวจตุรพักตร์ให้ฟื้นขึ้นมา  พระวิจิตรจินดาและพระธิดาโสนน้อยก็ออกเดินทางไปยังนครโรมวิสัย  ส่วนเงาะทั้งสองก็แยกกลับเข้าไปอยู่ในป่าพระวิจิตรจินดาพาพระธิดาโสนน้อยมาถึงเมืองโรมวิสัยและพักผ่อนได้ระยะหนึ่ง  ทั้งสองก็ทูลลากลับนครแก้วนพรัตน์
    พระวิตรจินดาและพระธิดาโสนน้อยครองรักกันอย่างมีความสุข  จนกระทั่งวันหนึ่ง กลาได้คิดแผนให่พระวิจิตรจินดาเข้าใจพระธิดาโสนน้อยผิด  จึงจับงูพิษมาใส่กล่องไม้จันทน์หอมแล้วนำเอามาให้พระธิดาโสนน้อยพร้อมบอกว่ากล่องนี้มีของวิเศษ ให้นำถวายพระวิจิตรจินดา     พระธิดาโสนน้อยหลงเชื่อกุลา  เมื่อถึงเวลาเข้าบรรทม  จึงมอบกล่องเห็นเป็นงูพิษคิดว่านางต้องการฆ่าตน  จึงเนรเทศพระธิดาโสนน้อยและกุลาให้ออกจากพระนคร  แม้ว่านางว่าอธิบายความจริงให้ฟังอย่างไร พระองค์ก็ไม่เชื่อ
     พระธิดาโสนน้อยจำต้องออกจากพระนครพร้อมลูกในครรภ์โดนมีกุลาติดตามไปด้วย  ทั้งสองเดินทางมาจนพบพระฤๅษีปู่เจ้า  จึงขอนั่งพักเหนื่อยระหว่างนั้น  กุลาเดินไปพบบ่อน้ำสองบ่อ ซึ่งเป็นน้ำสีเหลืองและสีดำ นางสงสัยเลยเอานิ้วจุ่มลงในบ่ปรากฎว่าเอามือจุ่มลงน้ำสีดำเกิดเป็นแผลออกร้อน ต่อมานางเอามือไปจุ่มลงน้ำสีเหลืองนิ้วนางกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
     ขณะนั้นความคิดชั่วร้ายก็เกิดขึ้น  กุลาจึกไปเรียกพระธิดาโสนน้อยมาดูบ่อน้ำวิเศษ  เมื่อกุลากระโดดลงไปบ่อน้ำสีทองพอกลับขึ้นมาด้วยหน้าตาที่สวยงาม รูปร่างอรชรอ้อนแอ้นจากนั้นกุลาเดินไปใกล้ๆ พระธิดาโสนน้อยที่ยืนอยู่ปากบ่อน้ำสีดำ เมื่อนางเผลอกุลาจึงผลักตกลงในบ่อน้ำสีดำพระธิดาโสนน้อยกลายเป็นหญิงอัปลักษณ์ มีแผลเต็มตัว  เช้าวันต่อมา ทั้งสองกราบลาพระฤๅษีปู่เจ้าแล้วออกเดินทางมาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตชายแดนเมืองโรมวิสัย  ทั้งสองได้พักอาศัยบ้านสองตายายคู่หนึ่ง พระธิดาโสนน้อยช่วยสองตายายทำงานแต่กุลาไม่ช่วยอะไรเลยเที่ยวอวดความงามของตน
    วันหนึ่ง กุลาได้เจอกับลูกเศรษฐีรูปหล่อประจำหมู่บ้านชื่อวิไล ทั้งสองต่างถูกใจกัน วิไลชวนกุลาไปอยู่ด้วย กุลานึกถึงแก้วแหวนเงินทองและความสุขสบายจึงตกลงไปอยู่ด้วยพร้อมเอาพระธิดาโสนน้อยไปเป็นทาสรับใช้  หลายเดือนพาไปครรภ์ของพระธิดาโสนน้อยใหญ่ขึ้น กุลาคิดที่จะกำจัดลูกของนาง เมื่อครบกำหนดครอด พระธิดาโสนน้อยให้กำเนิดบุตรชายและสลบไปด้วยความอ่อนเพลีย หมอตำแยนำผ้ามาห่อพระกุมารแล้วส่งให้บ่าวรับใช้ใส่ตะกร้านำพระกุมารไปโยนทิ้งลงแม่น้ำ กล่าวถึงพระกุมาร ด้วยความเป็นผู้มีบุญญาธิการเกิดปาฏิหาริย์ ตะกร้าไม่จมน้ำแต่ลอยไปถึงเกาะแห่งหนึ่งและได้รับการช่วยเหลือจากพระฤๅษีจึงนำพระกุมารมาเลี้ยงและตั้งชื่อว่า ไพรวัลย์ พระฤๅษีเลี้งดูไพรวัลย์จนเติบใหญ่พร้อมสอนวิชาป้องกันตัวให้กับไพรวัลย์
    พระวิจิตรจินดารอนแรมตามหาพระธิดาโสนน้อยด้วยความมุ่งมั่น จนกระทั่งวันหนึ่งพระองค์ได้เจอกับไพรวัลย์ที่กำลังเล่ากวางป่า จึงถามว่าเป็นลูกใคร  ไพรวัลย์จึงบอกว่าตนเองอาศัยอยู่กับพระฤๅษี  พระวิจิตรจินดาแปลกใจและหลุดพูดออกมาว่า พระฤๅษีมีลูกได้อย่างไรคำพูดของพระวิจิตรจินดาสร้างความไม่พอใจให้กับไพรวัลย์ เพราะคิดว่าพระวิจิตรจินดาพูดจาลบหลู่พระฤๅษีไพรวัลย์จึงแผลงศรไปยังพระวิจิตรจินดาแต่ศรกลายเป็นดอกไม้ร่วงหล่นลงตรงหน้าพระวิจิตรจินดา ไพรวัลย์จึงลองแผลงศรอีกครั้ง ปรากฏว่าเปลี่ยนทิศเหินขึ้นฟ้า พระฤๅษีจึงรีบออกมาห้ามและบอกไพรวัลย์ว่าชายผู้นี้เป็นพ่อของไพรวัลย์ ชื่อว่า วิจิตรจินดา พระวิจิตรจินดากราบขอบพระคุณพระฤๅษีที่ได้ช่วยชีวิตไพรวัลย์และเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
     พระวิจิตรจินดา ไพรวัลย์ และทหารเดินทางจนเข้าเขตเมืองโรมวิสัย  พระวิจิตรจินดาสังให้ทหารไปสืบหาพระธิดาโสนน้อย แต่กลับเจอแต่พระธิดาโสนน้อยที่แสนจะอัปลักษณ์และกุลาแสนสวย หนึ่งในทหารจำได้ว่าหญิงอัปลักษณ์ก็คือพระธิดาโสนน้อยพระวิจิตรจินดาจึให้นำนางมาเข้าเฝ้านางเล่าเรื่องราวในอดีตตั่งแต่เคยช่วยพระองค์จนถึงเรื่องที่พระวิจิตรจินดาเข้าใจผิดเรื่องงูพิษได้อย่างถูกต้อง
    เมื่อเรื่องราวทุกอย่างผ่านไปเรียบร้อยแล้วพระวิจิตรดาพาพระธิดาโสนน้อยไปหาพระฤๅษีปู่เจ้าเพื่อให้ท่านช่วย พระฤๅษีได้ให้พระธิดาโสนน้อยลงไปชุบตัวในบ่อน้ำสีเหลือง นางก็กลับมางดงามเหมือนเดิมทางไปยังนครโรมวิสัย รัลไพรวัลย์เดินทางไปยังนครแก้วนพรัตน์และอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข


ที่มา  oknation.nationtv.tv/blog/doblog20133/2013/11/16/entry-3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทพสามฤดู

เทพสามฤดู   เป็นนิทาน พื้นบ้านของไทย ปรากฏเป็นหนังสือครั้งแรก โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดเกาะ   เคย ถูกสร้างเป็นละคร  ในปี 2517 ในชื่อ ฝนสามฤดู ...