วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

เทพสามฤดู

เทพสามฤดู เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย ปรากฏเป็นหนังสือครั้งแรก โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดเกาะ เคยถูกสร้างเป็นละคร ในปี 2517 ในชื่อ ฝนสามฤดู ส่วนในปี 2530,2546  และ 2560 ใช้ชื่อว่า เทพสามฤดู

                             
                                     



เรื่องย่อ

เทพทั้งสามคือ ราหู พิรุณ และจินดาเมขลา ถูกองค์อิศราส่งลงมาเกิดในเมืองมนุษย์ตามคำขอของท้าวตรีภพและมเหสี แต่เนื่องจากท้าวตรีภพขอลูกเพียงคนเดียว เทพทั้งสามจึงมาเกิดในร่างเดียวกัน สับเปลี่ยนกันตามฤดูกาล มเหสีมณีตั้งครรภ์นาน 5 ปี ท้าวตรีภพจึงทำพิธีขอต่อองค์อิศราให้มีประสูติกาล เนื่องจากขณะนั้นเป็นฤดูร้อนเทพราหูจึงปรากฏร่างเป็นเด็กอายุ 5 ขวบ แต่มีเขี้ยวเป็นยักษ์ เป็นเหตุให้ท้าวตรีภพกริ้วมากสั่งให้นำไปลอยแพ ระหว่างทางงั่งเกิดมาพบกับราหูเข้า คิดจะเข้าไปจับกิน แต่พระฤๅษีมาช่วยเอาไว้ และสอนคาถาให้ราหูใช้กำกับงั่งไว้เป็นบริวาร จากนั้นได้พาไปอยู่ด้วยและสอนวิชาให้

ฝ่ายมเหสีมณีถูกทัศนีย์มเหสีฝ่ายซ้ายใส่ร้ายว่าเป็นชู้กับยักษ์ จึงถูกท้าวตรีภพเนรเทศ มเหสีทัศนีย์สั่งให้ทหารฆ่ามณีทิ้งแต่ยักษ์สุระผัด และ ลิงนันทะเสน มาพบ เข้าช่วยนางเอาไว้ได้ แต่ทั้งสองก็กลับต่อสู้กันเองเพื่อแย่งชิงนาง พระฤๅษี(อีกตนหนึ่ง)ได้ปรากฏตัวห้ามทั้งสองและเล่าเรื่องของมณีให้ฟัง สุระผัดและนันทเสนรู้สึกเสียใจที่คิดไม่ดีกับมณี สัญญาว่าจะช่วยเหลือนางและถือว่ามณีเป็นน้องสาว มณีอยู่รับใช้พระฤๅษีที่อาศรม

เทพทั้งสามหลังจากเรียนวิชาจากพระฤๅษีแล้วก็เกิดคิดถึงแม่ เนื่องจากพิรุณและจินดาเมขลายังไม่เคยเห็นหน้าแม่เลยนับแต่เกิดมา พระฤๅษีจึงขออาวุธจากองค์อิศรามอบให้เทพทั้งสามไว้ป้องกันตัว ราหูได้กระบองแก้ว พิรุณได้พระขันฑ์ และจินดามีลูกแก้ววิเศษ นอกจากนี้ก็ได้ให้งั่งติดตามไปด้วยเพื่อคอยดูแล เทพทั้งสามจึงออกเดินทางไปตามหาแม่ ระหว่างทางราหูได้พบกับถ้ำเก็บสมบัติที่มียักษ์สองตนเฝ้าอยู่ งั่งโลภมากหยิบเอาสมบัติในถ้ำออกมา ทำให้ถูกยักษ์เฝ้าสมบัติตามล่า ทั้งสองจึงต้องกลับเอาสมบัติไปคืน ขณะที่กำลังจะเข้าไปในถ้าพบกับวิทยาธรจะแย่งเอาสมบัติจึงต่อสู้กัน ราหูฆ่าวิทยาธรนั้นตาย

ราหูและงั่งเดินทางมาด้วยกันระหว่างทางเจอกับนันทเสนและ เกิดการต่อสู้กัน งั่งอยากเป็นอิสระ ไม่ยอมช่วยราหู องค์อิศราจึงให้เทพมาตุลีลงมาช่วย มาตุลีเสกเชือกคาถามัดนันทเสนไว้และชี้ทางให้ราหูเดินทางไปพบกับแม่ ราหูเดินทางไปพร้อมกับงั่งและนันทเสนจนกระทั่งเข้าสู่ฤดูหนาว จึงเปลี่ยนร่างเป็นจินดาเมขลา นันทเสนแปลกใจที่เด็กน้อยสามารถเปลี่ยนร่างได้ตามฤดูกาล เมื่อเดินทางไปตามที่มาตุลีบอก ก็ไปถึงอาศรมของพระฤๅษีที่มณีอาศัยอยู่ด้วย มณีเห็นจินดาเมขลาก็นึกเอ็นดูอยากเลี้ยงไว้เป็นลูก พระฤๅษีนั่งในดูความเป็นมาของจินดาจึงรู้ความจริงว่าจินดาคือลูกที่แท้จริงของมณี สองแม่ลูกดีใจที่ได้พบกัน

จินดาบอกกับแม่ว่าน่าจะเดินทางกลับไปหาพ่อ เพื่อแสดงความบริสุทธ์ มณีก็เห็นด้วย จึงกราบลาพระฤๅษีเพื่อเดินทางกลับบ้านเมือง มีงั่งเดินทางไปด้วย ในระหว่างเดินทางนั้นได้ผ่านป่าซึ่งใกล้กับเมืองอนันตลีวรรณ ซึ่งเป็นเมืองยักษ์ มีท้าวอนันตวงศ์ครองเมือง มเหสีชื่อโชตะนา ท้าวอนันตวงศ์และโชตะนาถอดหัวใจไว้ที่แมลงภู่ซึ่งอยู่ในถ้ำนิลคูหา ทำให้ฆ่าไม่ตาย ขณะที่ท้าวอนันตวงศ์เดินทางไปให้อาหารแมลงภู่พร้อมกับคนสนิทได้พบกับมณีและจินดา ตอนแรกตั้งใจจะจับกินเป็นอาหาร แต่เมื่อเห็นความงามของมณีก็อยากได้ไปเป็นชายาอีกคนหนึ่ง จินดาใช้ลูกแก้ววิเศษขับไล่ท้าวอนันตวงศ์ไป ท้าวอนันตวงศ์แม้จะบาดเจ็บแต่ก็สามารถลักพาตัวมณีไปด้วยได้ จินดาจึงต้องออกติดตามไปช่วยแม่

ที่เมืองยักษ์มเหสีโชตะนารู้เรื่องที่ท้าวอนันตวงศ์พานางมนุษย์กลับมา เพื่อยกย่องเป็นชายาอีกองค์ก็โกรธมาก บังคับให้ท้าวอนันตวงศ์เลือก ท้าวอนันตวงศ์เลือกมณี โชตะนาแค้นใจจึงไปหาพี่ชายคือท้าวจักรวรรดิซึ่งตกพุ่มม่ายมาหลายปีและมีลูกชายชื่อปราบไตรจักร โชตะนาบอกกับท้าวจักรวรรดิว่านางมนุษย์ทีท้าวอนันตวงศ์จับมานั้นมีความงามยิ่งนัก เหมาะจะเป็นมเหสีของท้าวจักรรวรรดิ ให้ท้าวจักรวรรดิไปทูลขอจากอนันตวงศ์ ซึ่งคงจะเกรงใจและยกให้แต่โดยดี เป็นการกำจัดมณีให้แก่นางอีกทางหนึ่งด้วย ท้าวจักรวรรดิตกลง ระหว่างที่เดินทางนั้นได้พบกับจินดาและงั่งทั้งสองก็คิดจะจับกิน จินดาใช้ลูกแก้ววิเศษออกมาต่อสู้ แต่ไม่สามารถต้านทานอิทธิฤทธิ์พัดชีวิตของจักรวรรดิได้ เนื่องจากพัดนี้เมื่อใช้โบกไปที่ใครจะทำให้วิญญาณออกจากร่างเหมือนคนตาย แต่ถ้าโบกอีกครั้งก็จะสามารถคืนชีวิตให้ได้ จินดาและงั่งถูกทำร้ายนอนนิ่งเหมือนคนตาย ท้าวจักรวรรดิแย่งเอาลูกแก้ววิเศษไปและนำศพของทั้งสองไปเก็บไว้

ด้านมณีพยายามจะหนีออกจากที่คุมขังของท้าวอนันตวงศ์โดยใช้ระฆังแก้วหวังจะเรียก สุระผัด และ นันทเสนมาช่วย แต่ก็ถูกท้าวอนันตวงศ์แย่งไปได้อีก ท้าวจักรวรรดิขอประทานมณีแต่อนันตวงศ์ไม่ให้ ทั้งสองจึงออกไปต่อสู้กัน ท้าวอนันตวงศ์สู้ฤทธิ์ของพัดชีวิตไม่ได้ จึงนำระฆังแก้วออกมาสั่นโดยเข้าใจว่าเป็นอาวุธวิเศษ เสียงจากระฆังแก้วเรียกสุระผัด และนันทเสนมาถึง ทั้งสองฝ่ายจึงเข้าต่อสู้กัน ฝ่ายของมณีเป็นฝ่ายชนะสามารถแย่งพัดชีวิตมาได้ แต่โชตะนานำจินดาและงั่งออกมาต่อรอง มณีจึงปล่อยพวกของอนันตวงศ์ไป และใช้พัดชีวิตคืนชีวิตให้กับจินดาและงั่ง สุระผัดและนันทเสนแยกตัวกลับและมอบพัดชีวิตให้มณีและจินดาไว้ใช้ ระหว่างนั้นอนันตวงศ์และจักรวรรดิซึ่งตามมาเห็นเหข้า จึงวางแผนปลอมตัวเป็นสุระผัดและนันทเสนจะเข้าไปแย่งพัดชีวิตและจับตัวมณี องค์อิศราเห็นดังนั้นจึงลงมายังโลกมนุษย์พร้อมทั้งมาตุลี โดยมาในร่างมนุษย์วางแผนหลอกจับตัวอนันตวงศ์แและจักรวรรดิได้ แต่อนันตวงศ์เจ้าเล่ห์บอกว่าเทพผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสามโลกเช่นองค์อิศรา ควรแล้วหรือที่ใช้อิทธิฤทธิ์มารังแกยักษ์ผู้ต่ำต้อย องค์อิศราจึงเพียงแค่ตักเตือนไม่ให้ทำร้ายผู้อื่น อนันตวงศ์และจักรวรรดิรู้สึกแปลกใจมากที่องค์อิศราถึงกับต้องลงมาปกป้องมณีและจินดาด้วยตนเอง ฝ่ายองค์อิศรากล่าวกับมาตุลีว่าครั้งต่อไปถ้าจะลงไปยังโลกมนุษย์ จะไปอย่างมนุษย์ธรรมดาไม่มีอิทธิฤทธิ์

อนันตวงศ์และจักรวรรดิแปลงตัวเป็นสุะผัดและนันทเสน อ้างว่าเป็นห่วงกลับมาดูแลมณี และหลอกถามคาถากำกับงั่งจากจินดาจับงั่งไปขังไว้ ตกกลางคืนทั้งสองพยายามจะแย่งพัดชีวิตจากมณี ขณะนั้นปรากฏฝนหลงฤดูทำให้จินดาเปลี่ยนร่างเป็นพิรุณ ทั้งสองตกใจหลุดปากทักออกมา มณีจึงรู้ว่าทั้งสองเป็นตัวปลอม เพราะสุระผัดและนันทเสนต่างก็รู้ความเป็นมาของเทพทั้งสามแล้ว จักรวรรดิแย่งพัดชีวิตไปได้ พิรุณสั่นระฆังแก้วเรียกสุระผัด นันทเสนมาช่วย ระหว่างที่ต่อสู้กันงั่งหลุดออกจากที่คุมขัง พิรุณให้งั่งไปหาหัวใจของอนันตวงศ์มาทำลาย งั่งจึงแปลงกายเป็นอนันตวงศ์เข้าเมืองยักษ์ หลอกให้ล่าสัณฑ์คนสนิทของอนันตวงศ์ไปยังสถานที่เก็บหัวใจ ล่าสัณฑ์หลงกลงั่งจึงจับแมลงภู่ที่มีหัวใจของอนันตวงศ์ไปได้ และฆ่าอนันตวงศ์ตาย พิรุณก็ได้ใช้พระขัณฑ์วิเศษต่อสู้กับพัดชีวิตจนพัดชีวิตถูกทำลายเสียหาย พวกของจักรวรรดิจึงหนีไป สุระผัด นันทเสน มณี พิรุณ และงั่งจึงเดินทางต่อไปด้วยกัน

สุระผัดและนันทเสนช่วยเหลือมณีจนกระทั่งท้าวตรีภพรู้ความจริงเรื่องที่ทัศนีย์ใส่ร้ายมณีและลูกๆ และเชื่อเรื่องที่ลูกมีถึง ๓ คนแต่อยู่ในร่างเดียว เนื่องจากองค์อิศราได้บันดาลให้ท้าวตรีภพมองเห็นเทพทั้งสามแยกร่างชั่วขณะ ท้าวตรีภพจึงพามณีและลูกกลับเข้าเมืองอุดม พร้อมทั้งจับพวกของมเหสีทัศนีย์ไว้รอประหาร แต่ทัศนีย์และพวกหนีไปได้

ระหว่างทางที่หลบหนีโคธรรพ์ซึ่งเป็นวัวและบำเพ็ญตบะจนสามารถแปลงร่างเป็นคนได้ มาเห็นทัศนีย์เข้าก็นึกรัก และลักพาตัวนางไปเป็นเมีย โคธรรพ์เนรมิตรเมืองโคธรรพ์และแต่งตั้งให้ทัศนีย์เป็นมเหสีและรับพวกของทัศนีย์ทั้งหมดมาอยู่ด้วย ทั้งสองมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนเป็นชาย ชื่อว่า สามศรี ทัศนีย์นั้นยังแค้นใจท้าวตรีภพและมเหสีมณีและคิดแก้แค้นอยู่ตลอดเวลา โคธรรพ์สัญญาว่าเมื่อสามศรีเติบโตและได้เรียนวิชาจากตนจนเก่งกล้าจะให้ไปแก้แค้นให้ทัศนีย์ เวลาผ่านไปเทพทั้งสามเติบโตขึ้นเป็นหนุ่มสาว พิรุณและจินดามีร่างเป็นมนุษย์รูปงาม ส่วนราหูร่างเป็นมนุษย์ที่มีเขี้ยวเป็นยักษ์ แต่ยังคงอยู่ในร่างเดียวกัน

เทพทั้งสามเติบโตขึ้นถึงเวลาต้องเลือกคู่ครอง พิรุณขออนุญาตพ่อแม่ไปหาคู่ครองเอง และได้พบกับนางไม้ลักษณาและอยู่ด้วยกัน จนกระทั่งฤดูหนาวมาถึง จินดาเมขลาปรากฏร่างและเดินทางต่อไปโดยมีงั่งไปด้วย ระหว่างทางจินดาได้พบกับองค์อิศราและมาตุลีซึ่งลงมายังโลกมนุษย์โดยไม่มีอิทธิฤทธิ์ องค์อิศราจำจินดาได้ แต่จินดาไม่รู้จักเมื่อถึงฤดูร้อนเทพราหูปรากฏร่าง เป็นเวลาเดียวกับที่เมืองโรมวิสัยซึ่งมีท้าวคันธมาศเป็นผู้ครองเมือง มีมเหสีชื่อรัชฎา และมีพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ สุวรรณอัมพร และ อัปสรสวรรค์ นอกจากนี้ท้าวคันธมาศยังมีพระขนิษฐาชื่อดวงดารา ยังไม่ได้อภิเษกสมรส ท้าวคันธมาศและมเหสีจึงจัดให้มีงานเลือกคู่ให้พระธิดาโดยการเสี่ยงพวงมาลัย ในขณะเดียวกันนั้นท้าวจักรวรรดิ พร้อมทั้งลูกชาย ปราบไตรจักรและโชตะนา ได้เดินทางมาถึงเมืองโรมวิสัยเพื่อหามนุษย์กิน จักรวรรดิและปราบไตรจักรได้เข้าร่วมพิธีเลือกคู่ด้วย จักรวรรดิหลงใหลในความงามของสุวรรณอัมพร ส่วนปราบไตรจักรนั้นนึกรักอัปสรสวรรค์ และใช้มนต์สะกดให้นางเสี่ยงพวงมาลัยให้ จักรวรรดิก็ใช้มนต์สะกดเช่นกันแต่เนื่องจากพระขนิษฐาของท้าวคันธมาศ(ดวงดารา)อยากเลือกคู่บ้าง เข้ามาแย่งสุวรรณอัมพรเสี่ยงมาลัยจึงได้รับมนต์สะกดแทน และได้ท้าวจักรวรรดิเป็นคู่ มเหสีรัชฏาโกรธที่สุวรรณอัมพรไม่ยอมเสี่ยงพวงมาลัยเลือกคู่ และว่าสุวรรณอัมพรเลือกมาก สุดท้ายสุวรรณอัมพรจึงต้องออกไปเลือกคู่อีกครั้ง ครั้งนี้ราหูและงั่งได้เข้ามาในบริเวณพิธีด้วย ในขณะที่ทุกคนต่างก็กลัวยักษ์และกระหัง สุวรรณอัมพรกลับโยนพวงมาลัยเลือกราหูเป็นคู่ครอง....

มเหสีรัชฎากริ้วสุวรรณอัมพรมากถึงกับขับไล่ออกไปจากวัง ให้ไปใช้ชีวิตอย่างคนธรรมดาอยู่กับราหูที่กระท่อมปลายนา สุวรรณอัมพรน้อยใจแม่พาลโกรธเอากับราหูไม่ยอมให้ราหูอยู่ร่วมห้อง งั่งแนะให้ราหูบอกความจริงให้นางรู้และแสดงร่างที่เป็นมนุษย์ให้ดู แต่ราหูปฏิเสธต้องการให้สุวรรณอัมพรยอมรับตนในร่างที่เป็นยักษ์ ทางด้านจักรวรรดิจำใจต้องแต่งงานกับพระขนิษฐาดวงดารา แต่ในใจยังต้องการได้สุวรรณอัมพรมาเป็นคู่อยู่ตลอดเวลา ปราบไตรจักรเข้าหอกับอัปสรสวรรค์แต่เพราะตนเป็นยักษ์และอัปสรสวรรค์คือคู่ของพระพิรุณซึ่งเป็นเทพ ทำให้ไม่สามารถแตะต้องตัวนางได้ เมื่อจับต้องจะรู้สึกร้อนราวกับถูกไฟเผา ปราบไตรจักรจึงแต่งเรื่องว่าฝึกวิชาอาคมและต้องรักษาพรหมจรรย์ จึงไม่สามารถอยู่ร่วมกับนางฉันท์สามีภรรยาได้ อัปสรนึกน้อยใจแต่ก็ยอมรับฟัง ส่วนโชตะนาที่ตามท้าวจักรวรรดิและปราบไตรจักรมา ได้เห็นราหูในพิธีเลือกคู่ก็นึกรัก ต้องการได้มาเป็นคู่ครอง ปราบไตรจักรจึงออกอุบายว่า โชตะนาเป็นน้องสาวคนสุดท้องของตน (หลังจากที่ได้โกหกว่าท้าวจักรวรรดิเป็นพี่ชายคนโต) ให้เข้ามาอยู่ในวังด้วยกัน ทั้งสามหาทางแยกราหูกับสุวรรณอัมพรจากกัน เพื่อพวกตนจะได้สมหวัง

สุวรรณอัมพรแสดงท่าทางรังเกียจราหูอย่างเห็นได้ชัด ส่วนงั่งก็คอยแต่ยุยงให้ทั้งสองผิดใจกัน เพื่อราหูจะได้กลับบ้านกลับเมือง ใกล้จะถึงฤดูฝนราหูจะต้องกลายร่างเป็นพิรุณ ราหูไปลาสุวรรณอัมพรบอกว่าจะต้องกลับบ้านแต่อัมพรไม่สนใจ กลางดึกคืนหนึ่งฝนแรกตกลงมา พิรุณจึงปรากฏร่าง เป็นเวลาเดียวกับที่จักรวรรดิต้องการมาลักพาตัวสุวรรณอัมพรและจะทำร้ายราหู พิรุณเข้าต่อสู้กับจักรวรรดิและขับไล่จักรวรรดิไป งั่งวางแผนให้สุวรรณอัมพรรู้จักกับพิรุณเพื่อจะแกล้งราหู แต่พิรุณกลับหลงรักอัปสรสวรรค์ตั้งแต่แรกพบ ปราบไตรจักรต้องพาจักรวรรดิกลับไปเมืองยักษ์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจึงต้องทิ้งอัปสรสวรรค์ไว้ องค์อิศราและมาตุเดินทางมาถึงเมืองโรมวิสัยด้วยและได้พักอยู่บริเวณใกล้ๆกับกระท่อมของราหู-สุวรรณอัมพร ทางด้านลักษณามีลูกชายกับพิรุณชื่อทุมมา เติบโตเร็วกว่าเด็กธรรมดาทั่วไป และพากันออกเดินทางเพื่อตามหาพิรุณ ในขณะที่สามศรีก็เติบโตเป็นหนุ่มมีวิชาเก่งกล้า ถูกทัศนีย์สั่งสอนให้เกลียดชังมณีและท้าวตรีภพคิดจะกลับไปแก้แค้นพวกของท้าวตรีภพ



ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/เทพสามฤดู

เทพศิลป์ อินทรจักร

สืบสานตำนานวรรณคดี วันนี้ขอเสนอเรื่อง...............เทพศิลป์ อินทรจักร


เรื่องย่อ
ท้าวจตุรพักตร์ พญายักษ์ผู้ครองเมืองกลางหาว ได้บังอาจเหิมเกริมบุกแดนสวรรค์ ทำลายวิมานของเหล่าเทวดานางฟ้าจนได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว พระสยมภูวญาณผู้เป็นใหญ่จึงได้ส่งให้เทพบุตรตนหนึ่ง พร้อมด้วยจักรแก้วจุติลงไปยังโลกมนุษย์เพื่อปราบท้าวจตุรพักตร์และวงศ์วานยักษ์ให้สิ้นไป นอกจากนี้ ยังได้ส่งให้เทพบุตรจำนวนหนึ่ง จุติตามลงไปเพื่อเป็นทหารเอกช่วยทำศึกกับท้าวจตุรพักตร์ด้วย
เทพบุตรและจักรแก้วจุติลงมาเป็นโอรสของกษัตริย์เมืองหนึ่ง เทพบุตรจุติลงมาเป็นโอรสองค์พี่ ได้นามว่า เทพศิลป์ ส่วนจักรแก้วจุติลงมาเป็นโอรสองค์น้อง นามว่า อินทรจักร เมื่อเทพศิลป์และอินทรจักรเจริญวัย พระบิดาก็ได้ส่งไปร่ำเรียนวิชากับพระฤๅษีที่ในป่าลึก และพระฤๅษีได้ทำพิธีขออาวุธจากพระสยมภูวญาณให้แก่สองกุมาร โดยเทพศิลป์ได้ธนูเป็นอาวุธ ส่วนอินทรจักรได้จักรแก้วเป็นอาวุธ ทั้งสองพี่น้องร่ำเรียนวิชากับพระฤๅษีจนเติบโตเป็นหนุ่มก็สำเร็จวิชา
หลังจากสองพี่น้องกลับเมืองมาได้ไม่นาน พระสยมภูวญาณก็ได้ประกาศหาผู้ที่สามารถดันเขาพระสุเมรุที่ทรุดเอียงจากการโจมตีของท้าวจตุรพักตร์ให้กลับมาตั้งตรงได้ดังเดิม ซึ่งเทพศิลป์สามารถทำได้สำเร็จ พระสยมภูวญาณจึงได้เสกดอกมณฑาบนสวรรค์ให้เป็นนางงาม นามว่า เทพมณฑา ยกให้เทพศิลป์นำไปเป็นชายา
เมื่อท้าวจตุรพักตร์ได้เห็นนางเทพมณฑา ก็เกิดหลงรัก จึงดักชิงไประหว่างทาง ทำให้เทพศิลป์และอินทรจักรต้องร่วมกันทำศึกกับท้าวจตุรพักตร์เพื่อชิงนางเทพมณฑากลับคืนมา
เทพศิลป์และอินทรจักรได้รับความช่วยเหลือจากเหล่าเทพบุตรที่จุติลงมาเป็นทหารเอกในการทำศึก แต่ทั้งสองไม่สามารถปราบท้าวจตุรพักตร์ และตรีพักตร์ผู้เป็นโอรสได้ เนื่องจากทั้งสองได้ถอดดวงใจไปเก็บไว้ในที่ห่างไกล ตราบจนกระทั่ง ที่ซ่อนดวงใจถูกเปิดเผย เทพศิลป์และอินทรจักรจึงสามารถทำลายดวงใจปราบท้าวจตุรพักตร์ลงได้

ที่มา    https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C_%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3

นิทานเวตาล

สืบสานตำนานวรรณคดี วันนี้ขอเสนอเรื่อง...............นิทานเวตาล



โครงเรื่อง
ระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน กษัตริย์ในตำนานของอินเดีโบราณ ได้รับปากกับโยคีชื่อ "ศานติศีล" จะไปนำตัวเวตาล อมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผสมค้างคาว ซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก มาให้แก่ฤๅษีเพื่อใช้ในพิธีบูชาจ้าแม่กาลี โดยมีพระธรรมธวัชผู้เป็นโอรสติดตามไปด้วย เมื่อพระองค์จับตัวเวตาลได้แล้ว เวตาลก็จะพยายามยั่วให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ โดยการการเล่านิทานอุทาหรณ์ต่างๆ แล้วให้พระวิกรมาทิตย์ตัดสินเรื่องราวในนิทานเหล่านั้น ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ทำให้พระวิกรมาทิตย์อดไม่ได้ที่จะตรัสพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องราวในนิทานอยู่เสมอ ผลก็คือเวตาลได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตน ทำให้พระวิกรมาทิตย์จำต้องกลับไปจับเอาเวตาลกลับมาใหม่ทุกครั้ง เป็นเช่นนี้อยู่ถึง 24 ครั้ง ในครั้งที่ 25 พระธรรมธวัชได้สะกิดเตือนมิให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสคำใดๆ ออกมา พระวิกรมาทิตย์ก็ระงับใจไม่เอื้อนพระโอษฐ์ตรัสพระกระแสใดๆ ออกมา เวตาลจึงยอมให้พระองค์พาตนไปให้โยคีศานติศีลนั้นได้
ท้ายเรื่องของนิทานเวตาลมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่พระวิกรมาทิตย์พาเวตาลไปหาโยคีนั้นเอง เวตาลก็ได้เปิดเผยว่าแท้จริงแล้วโยคีศานติศีลมีความแค้นกับพระวิกรมาทิตย์อยู่ ซึ่งเป็นความแค้นที่ก่อโดยพระบิดาของพระวิกรมาทิตย์ จึง หวังที่จะปลง ชนม์ของพระองค์เสีย พร้อมกันนี้เวตาลก็แนะนำให้พระองค์ทำเป็นเชื่อฟังคำของโยคีนั้นแล้วหาทางฆ่าเสีย พระวิกรมาทิตย์ก็ได้ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และรอดพ้นจากการทำร้ายของโยคีนั้นได้
นิทาน
นิทานย่อยซึ่งแทรกอยู่ในนิทานเวตาลทั้ง 25 เรื่องโดยสรุปมีดังนี้
  • เรื่องที่ 1 เรื่องของเจ้าชายวัชรมกุฏ กับพระสหายชื่อ พุทธิศรีระ
  • เรื่องที่ 2 เรื่องของนางมันทารวดี กับ พราหมณ์หนุ่ม 3 คน
  • เรื่องที่ 3 เรื่องของนกแก้วชื่อ วิทัคธจูฑามณี ของพระเจ้าวิกรมเกศริน กับนกขุนทองชื่อ โสมิกา ของเจ้าหญิงจันทรประภา
  • เรื่องที่ 4 เรื่องของพระเจ้าศูทรกะ กับพราหมณ์ผู้ซื่อสัตย์ชื่อ วีรวร
  • เรื่องที่ 5 เรื่องของนางโสมประภา กับการเลือกคู่ครอง
  • เรื่องที่ 6 เรื่องของวันฉลองพระแม่เคารี
  • เรื่องที่ 7 เรื่องของพระเจ้าจัณฑสิงห์ กับสัตตวศีล ผู้ซื่อสัตย์
  • เรื่องที่ 8 เรื่องของบุตรทั้ง 3 ของพราหมณ์วิษณุสวามิน
  • เรื่องที่ 9 เรื่องของการเลือกคู่ของเจ้าหญิงอนงครตี
  • เรื่องที่ 10 เรื่องของนางมัทนเสนา ผู้ซื่อสัตย์
  • เรื่องที่ 11 เรื่องของชายาทั้ง 3 ของพระเจ้าธรรมธวัช
  • เรื่องที่ 12 เรื่องของพระเจ้ายศเกตุ กับทีรฆทรรศิน ผู้ภักดี
  • เรื่องที่ 13 เรื่องของพราหมณ์ชื่อ หริสวามิน ผู้อาภัพ
  • เรื่องที่ 14 เรื่องของนางรัตนาวดี บุตรีเศรษฐี ผู้หลงรักโจร
  • เรื่องที่ 15 เรื่องของความรักของเจ้าหญิง ศศิประภา
  • เรื่องที่ 16 เรื่องของเจ้าชาย ชีมูตวาหน กับนาคชื่อ ศังขจูฑะ
  • เรื่องที่ 17 เรื่องของพระเจ้ายโศธน กับ นางอุนมาทินี บุตรีเศรษฐี
  • เรื่องที่ 18 เรื่องของพราหมณ์จันทรสวามิน กับฤๅษีปาศุบต
  • เรื่องที่ 19 เรื่องของภรรยาเศรษฐี กับธิดาชื่อ ธนวดี
  • เรื่องที่ 20 เรื่องของพระเจ้าจันทราวโลก กับรากษส
  • เรื่องที่ 21 เรื่องของนางอนงคมัญชรี
  • เรื่องที่ 22 เรื่องของบุตรพราหมณ์ทั้ง 4 ผู้ขมังเวทย์
  • เรื่องที่ 23 เรื่องของฤๅษีเฒ่า วามศิวะ ผู้อยากเป็นหนุ่ม
  • เรื่องที่ 24 เรื่องของนางจันทรวดี กับธิดาชื่อ ลาวัณยวดี กับเรื่องขนาดเท้าของนาง
  • เรื่องที่ 25 เรื่องของพระเจ้าติรวิกรมเสน กับเวตาล

ฉบับพระนิพนธ์ในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

ฉบับพระนิพนธ์ใน กรมหมื่นพิทยาลงกรณแก้ไข

  • เรื่องที่ 1 พระวัชรมงกุฎ กับ พุทธศริระ (ลิลิตเพชรมงกุฎ)
  • เรื่องที่ 2 นกแก้วจุฑามน กับ นกขุนทองโสมิกา
  • 2.1 นางรัตนาวดี กับ ชายผู้มีหลังเหมือนอูฐ
  • 2.2 นางชัยสิริ กับ จมูกที่แหว่งของนาง
  • เรื่องที่ 3 พระเจ้าศูทรกะ กับ ขุนนางวีรพล
  • เรื่องที่ 4 นางมัทนเสนากับการเลือกคู่
  • เรื่องที่ 5 นางโศภนี ผู้หลงรักโจร
  • เรื่องที่ 6 พราหมณ์เกศวะ กับ บุตรเขย 3 คน
  • เรื่องที่ 7 ความรักมนัสวี ผู้โง่เขลา
  • เรื่องที่ 8 พระยศเกตุ กับ ทีรฆทรรศิน และนางวิทยาธรสาว
  • เรื่องที่ 9 การชุบชีวิตด้วยความผิดพลาดของนางมุกดาวลี
  • เรื่องที่ 10 ปริศนายากของเวตาล
จะเห็นว่าบางเรื่องจะมีความคล้ายคลึงกับ 25 เรื่องข้างต้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเรื่องของ พระพฤตราช พระอนุชาของพระวิกรมาทิตย์อีกด้วย

นิทานเวตาลในภาคภาษาไทย

นิทานเรื่องเวตาลนี้ เดิมได้เรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว ชื่อ ลิลิตเพชรมงกุฎ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ถอดมาเพียงเรื่องแรกเท่านั้น (เรื่องพระวัชรมกุฎกับพุทธิศรีระ) ภายหลังพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของริชาร์ด เอฟ เบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากสำนวนแปลของ ซี.เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง ทำให้ฉบับภาษาไทยของ น.ม.ส. มีนิทานเวตาลทั้งหมด 10 เรื่องต่อมาศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ได้แปลจากต้นฉบับเดิม ซึ่งเป็นอักษรเทวนาครีภาษาสันสกฤ จนครบ 25 เรื่อง และภายหลังวรรณกรรมเรื่องนี้ก็ได้รับการแปลแปลงในหลากหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบการ์ตูนคอมมิคชื่อ "เวตาล" ซึ่งเป็นผลงานของ ภาณุ นทีนันท์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง จนกระทั่งเวตาลได้กลายเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/นิทานเวตาล

ท้าวแสนปม

สวัสดีค่ะกลับมาพบกันอีกครั้งวันนี้ดิฉันก็ไม่ได้มามือเปล่านะคะ หลังจากนั่งคิดอยู่นานว่าจะหยิบเรื่องอะไรมาเล่าให้ฟังดี ก็ได้ข้อสรุป(กับตัวเอง)ว่าอยากจะทำเรื่อง ‘ท้าวแสนปม’ ที่พระเอกไม่ใช่คนปกติ หรือมีหน้าตารูปร่างปกติเหมือนพระเอกเรื่องอื่นค่ะ





เนื้อเรื่อง

เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยที่เมืองไทยยังไม่เป็นบึกแผ่นมั่นคงเหมือนอย่างในปัจจุบัน คนเชื้อสายไทยต่างก็แยกย้ายกันอยู่ โดยมีพ่อบ้านพ่อเมืองปกครองซึ่งก็ล้วนอยู่ในอำนาจของขอม  
ครั้งนั้นมีเจ้านายไทยพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า “ เจ้าพรหม ” ทรงเป็นผู้นำที่คนไทยให้ความเตารพมาก พระองค์คอยหาโอกาสที่จะกอบกู้อิสระให้คนไทยพ้นจากอำนาจขอมเสียทีและในเวลาต่อมาอาณาจักรขอมก็เริ่มอ่อนแอลง เพราะมีชีวิตที่สะดวกสบายมานานและประมาทในความแข็งแกร่งของคนไทย 
เพื่อปลดปล่อยคนไทยให้หลุดพ้นจากแอกของขอม เจ้าพรหมทรงนำกำลังที่รวบรวมไว้บุกเข้าจู่โจมขอมในทันที และประสบความสำเร็จในการเข้ายึดเมืองขอมไว้ได้ แล้วคนไทยก็ยึดครองเมืองของขอมนั้น เจ้าพรหมได้รับเชิญให้เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าพรหมแห่งเมืองเชียงแสน 
ในเวลาต่อมา กษัตริย์มอญ มีพระประสงค์ที่จะขยายอาณาเขตของพระองค์จึงได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงแสน พระเจ้าพรหมทรงเห็นว่าข้าศึกที่ยกมานั้นมีกำลังมากเกินที่จะต้านทายไว้ได้ ดังนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยทิ้งเมือง และอพยพชาวพระนครมุ่งลงมาทางใต้ล่วงเข้ามาชายแดน เขตเมืองกำแพงเพชรพบซากเมืองเก่า พระองค์จึงโปรดให้ซ่อมแซมเมืองขึ้นใหม่แล้วขนานนามเมื่อว่า “ นครไตรตรึงษ์ ” 
กล่าวกันว่า พระมหากษัตริย์เสวยราชย์สืบสันติวงษ์ครองเมืองเรื่อยมาจนถึง 3 ชั่วคนครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระเจ้าไตรตรึงษ์ทรงมีพระธิดาองค์หนึ่งมีสิริโฉมงดงามยิ่งนักนามว่า “ อุษา ” พระบิดาทรงรัก และหวงแหน พระธิดามาก จึงทรงสร้างปราสาทให้พระธิดาอยู่ต่างหาก จัดหาข้าราชบริพารคอยปรนนิบัติรับใช้อยู่ตลอดเวลา 
วันหนึ่งในขณะเดินเล่นในสวนหลวงพระธิดาอานึกอยากเสวยมะเขือขึ้นมาทันที จึงสั่งพี่เลี้ยงไปนำมะเขือมาให้เสวยแต่พี่เลี้ยงก็หามะเขือไม่ได้สักผลเดียวในวัง จึงอาสาออกไปหามะเขือนอกพระราชวัง ใกล้ ๆ กับกำแพงพระราชวัง มีชายหนุ่มคนหนึ่งมีชื่อ “ แสนปม ” อาศัยอยู่ที่นั่นสาเหตุที่เขาถูกเรียกว่า “ แสนปม ” ก็เพราะว่าเนื้อตัวของเข้าเต็มไปด้วยปุ่มปมนับแสนนับพันแต่ว่าเป็นคนขยันและร่าเริง เขาทำมาหากินด้วยการปลูกผักแล้วนำไปขายในตลาดในเมือง 
แสนปมปลูกผักต่าง ไว้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเขือ แต่เขามีนิสัยแปลกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งคือชอบถ่ายปัสสาวะรดต้นมะเขือที่ปลูกนั้นแล้
ว ก็ทำให้มันงอกงามได้อย่างแปลกประหลาดเสียด้วยในขณะทำงานอยู่ในสวน พี่เลี้ยงของพระธิดาไปพบเข้าและขอซื้อมะเขือของเขา หลังจากได้มะเขือสมใจแล้วพี่เลี้ยงก็กลับเข้าสู่พระนครแล้วนำมะเขือที่ได้นั้นไปให้ห้องเครื่องปรุงมาถวาย แต่หลังจากเสวยมะเขือเข้าไปแล้ว พระธิดาก็ทรงครรภ์โดยมิได้สมสู่กับชายใดทั้งสิ้น 
เมื่อพระธิดาของพระองค์ประสูติพระโอรสแล้ว พระเจ้าไตรตรึงษ์มีพระประสงค์จะสืบหาบิดาของพระนัดดาของพระองค์ แต่ก็ต้องรอจนพระนัดดาเจริญวัยและคลานได้เสียก่อน ในเวลาต่อมา พระเจ้าไตรตรึงษ์ทรงรับสั่งให้เป่าประกาศให้ทุกคนหาของมาถวายพระนัดดาของพระองค์ และทรงอธิฐานว่าผู้ใดก็ตามที่เป็นบิดาของกุมารนี้ เมื่อเขาถวายสิ่งใดแก่พระกุมารขอให้พระกุมารชอบสิ่งของของผู้นั้น 
ในคราวนั้นแสนปมก็ถูกเรียกให้เข้าร่วมในพิธีด้วย แต่เขาไม่มีอะไรที่จะถวายพระกุมารเลยนอกจากข้าวสุกเพียงก้อนหนึ่งในมือเท่านั้น แต่ก็น่าประหลาดที่พระกุมารชอบก้อนข้าวสุกของเขาเป็นพิเศษ เหตุการณ์นี้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคนทั้งหลายในที่นั้น ทำให้พระองค์ละลายพระทัยและอัปยศอดสูยิ่งนัก จึงรับสั่งให้ลงโทษโดยให้นำพระธิดาและพระนัดดาไปลอยแพตามแม่น้ำพร้อมกับนายแสนปม 
แต่ทันทีที่แพลอยมาถึงไร่ของนายแสนปม พระอินทร์ทรงรู้เรื่องราวความทุกข์ยากของนายแสนปมด้วยความสงสารจึงปลอมตนเป็นลิง แล้วเอากลองสารพัดนึกมามอบให้นายแสนปมใบหนึ่งแล้วสั่งว่าหากปรารถนาสิ่งใดก็ให้ตีกลองใบนั้น แต่ให้ตั้งสัตย์อธิฐานได้เพียงสามครั้งเท่านั้นด้วยความปลื้มปิติอย่างยิ่ง นายแสนปมจึงตั้งอธิฐานขอให้ปมที่เกิดขึ้นทั่วตัวหายไป หลังจากตีกลองปมเหล่านั้นก็หายหมด เมื่อตีกลองครั้งที่สองก็ตั้งอธิฐานขอให้มีบ้านเมืองครอบครอง และเมื่อตีครั้งที่สาม ก็ขอให้ได้เปลทองคำสำหรับบุตรชายของตนได้นอน และแล้วแสนปมก็ได้สิ่งปรารถนาทั้งสามประการนั้น 
และด้วยบุญญาธิการนี้ พระโอรสก็ได้บรรทมในเปลทองคำจึงได้นามว่า “ อู่ทอง ” แสนเองก็ได้เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า “ เจ้าศิริชัยเชียงแสน ” ครองเมืองที่เนรมิตขึ้นนั้นและตั้งชื่อเมืองว่า “ เมืองเทพนคร ” หลังจากสิ้นพระชนม์ลง เจ้าชายอู่ทองก็ขึ้นครองราชย์แทนและทรงปกครองอยู่เป็นเวลา 6 ปีก่อนที่จะย้ายราชธานีไปอยู่ที่อยุธยา 

ที่มา  group.wunjun.com/krooboonsongs/topic/13977-348

พระสุธน-มโนราห์

ติดตามมหากาพย์แห่งหนี้รักที่ข้ามภพชาติมาชดใช้ให้แก่กันได้...
ใน... พระสุธน มโนราห์




เนื้อเรื่อง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีราชอาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งชื่อว่า "ปัญจาลนคร" ปกครองโดยกษัตริย์
ผู้ทรงอยุ่ในทศพิธราชธรรมทรงพระนามว่า "อาทิตยวงศ์" พระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่า "จันทาเทวี"
 ซึ่งต่อมาได้ประสูติพระโอรสพระนามว่า "พระสุธน" เมื่อพระกุมารเจริญวัยขึ้นก็มีความเฉลียวฉลาด
และพระรูปโฉมงดงาม ยากที่จะหาราชกุมารในแว่นแคว้นอื่นเทียบเคียงได้
ครั้งนั้นมีพญานาคราชตนหนึ่งมีนามว่า "ท้าวชมพูจิต" มีฤทธิ์อำนาจมากสามารถนำความเจริญรุ่งเรือง
มาสู่อาณาจักรใดก็ได้ พญานาคราชเห็นพระเจ้าอาทิตย์วงศ์เป็นพระราชาที่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม
จึงบันดาลให้เมืองปัญจาลนครอุดมสมบูรณ์มีฝนตกต้องตามฤดูกาล

มีเมืองที่มีอาณาเขตติดต่อกับปัญจาลนครคือ เมืองนครมหาปัญจาละ ซึ่งปกครองโดยพระราชาที่ไม่ตั้งอยู่ใน
ทศพิธราชธรรม พระนามว่า "พระเจ้านันทราช" และจากการที่ทรงปกครองด้วยการกดขี่
อาณาประชาราษฏร์นี้เอง จึงทำให้อาณาจักรของพระองค์ ประสบกับความแห้งแล้งข้าวยากหมากแพง
เพื่อหนีจากความยากเย็นแสนเข็นนี้ บรรดาประชาราษฏร์จึงพากันอพยพไปอาศันอยุ่ในเมืองปัญจาลนคร
พระเจ้านันทราชมีจิตริษยาพระเจ้าอาทิตยวงศ์ และในขณะเดียวกันก็แค้นเคืองท้าวชมพูจิตผู้ซึ่งถูกกล่าวหา
ว่ามีใจลำเอียงในขณะบรรดาลให้ฝนฟ้าตกบนพื้นโลก

เพื่อล้างแค้นท้าวชมพูจิต พระเจ้านันทราชจึงทรงทรงปรึกษากับปุโรหิต ผู้ซึ่งรับอาสาไปหาผู้ที่สามารถ
ฆ่าพญานาคได้ และแล้วก็ได้พราหมณ์เฒ่าผู้ซึ่งมีมนต์วิเศษสูงกว่าพญานาคราช หลังจากได้รับได้รับทราบ
พระประสงค์ของพระราชาแล้ว พราหมณ์ก็มุ่งหน้าไปยังสระใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่ของพญานาคราชแล้วเป่ามนต์
ลงในสระใหญ่ยิ่งผลให้น้ำปั่นป่วน และเกิดเป็นคลื่นลูกใหญ่สั่นสะเทือนไปทั่วทั่งสระ ในขณะประกอบ
พิธีอยู่นั้นพราหมณ์ต้องเข้าไปในป่าเพื่อหารากไม้มาทำเป็นเชือกสไหรับจับพญานาคราช

ด้วยอำนาจแห่งมนต์วิเศษของพราหมณ์ ท้าวชมพูจิตเกิดความรุ่มร้อนเหมือนถุกไฟเผาจึงต้องขึ้นจากสระ
แล้วแปลงกายเป็นพราหมณ์หนุ่มเพราะรู้ตัวว่าอันตรายได้เข้ามาใกล้ตนแล้ว แม้ตัวเองจะมีฤทธิ์เดช
แต่ก็หาต้านทานพราหมณ์เฒ่าได้ไม่ ดังนั้นจึงคิดหาทางทำลายพิธีของพราหมณ์ผู่จิตคิดกำจัดตน

ในขณะเดินไปมาอยู่ในป่า ท้าวชมพูจิตในร่างของพราหมณ์หนุ่มก็พบกับพรานป่าผู้หนึ่งชื่อพรานบุณ
กำลังออกป่าล่าสัตว์อยู่พอดีจึงเข้าไปทักทายและถามถึงบ้านเมืองของพรานผู้นั้นพรานป่าบอกว่าเขาเป็นชาว
เมืองปัญาจานคร ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะได้รับความอนุเคราะห์จากพญานาคราช พรานป่าสาบาน
ว่าเขาจะฆ่าบุคคลผู้นั้นเสียโดยไม่รีรอ

ท้าวชมพูจิตดีใจมากที่ได้ยินเช่นนั้น จึงแสดงตนเป็นพญานาคราชและเล่าเรื่องภัยอันใหญ่หลวงให้พรานฟัง
 เพื่อทำลายพิธีของพราหมณ์เฒ่าเสีย พรานบุญจึงยิงเขาตายด้วยลูกธนู พญานาคราชดีใจมาก และขอบคุณ
พรานบุญที่ได้ช่วยเหลือเขาไว้และแล้วก้ชวนพรานบุญไปเที่ยวชมนครใต้พิภพของเขา พญานาคราชสัญญาว่า
จะช่วยเหลือเมื่อใดก็ตามที่พรานบุญร้องขอ แล้วก็มอบสิ่งมีค่าให้พรานบุญไปมากมาย

พรานบุญจึงอำลาพญานาคราช และใช้ชีวิตอยู่อย่างสบายแต่ก็ยังชอบล่าสัตว์อยู่ วันหนึ่งในขณะที่เดินทาง
เข้าไปป่าลึก และได้พบกับพระฤาษีตนหนึ่ง ชื่อกัสสปะผุ้ซึ่งเล่าเรื่องกินรีให้เขาฟัง โดยปกติหมู่กินรีจากเขา
ไกรลาสจะบินมาลงเล่นน้ำในสาระโบกขรณีทุก ๆ 7 วัน เมื่อพรานบุญเห็นความงามของกินรี ก็คิดจะจับนาง
กินรีสักนางหนึ่งไปถวายพระสุธนเพื่อนเป็นของขวัญจากป่า แต่พระฤาษีก็บอกเขาว่าไม่มีหนทางจะจับนางได้
นอกจากจะได้บ่วงบาศของพญานาคราชท้าวชมพูจิตเท่านั้น เพราะนางกินรีสามารถบินได้เร็ว

พรานบุญจึงเดินทางไปพบท้าวชมพูจิตเพื่อขอยืมบ่วงบาศ ความจริงแล้วพญานาคราชไม่ต้องให้พรานบุญขอ
ยืมบ่วงบาศ เพราะจะเป็นบาปแก่ตนพรานบุญเคยช่วยชีวิตตนไว้ให้พ้นภัยจากพราหมณ์เฒ่า และได้ทราบ
จากการใช้มนต์วิเศษของตนตรวจสอบดูก็พบว่า นางกินรีชื่อว่ามโนห์รา และพระสุธนเป็นเนื้อคู่กัน
พญานาคราชจึงยอมมอบให้ไป

หลังจากได้บ่วงบาศจากท้าวชมพูจิตมาแล้ว พรานบุญก็สามารถจับมโนห์รา ซึ่งเป็นธิดาองค์หนึ่งในบรรดา
ธิดาทั้ง 7 คน ของท้าวทุมราชได้ ท้าวทุมราชเป็นพระราชาปกครองเขาไกรลาส นางมโนห์ราซึ่งเป็นน้อง
สุดท้องไม่สามารถหนีบ่วงบาศที่พรานบุญเหวี่ยงมาคล้องได้ พรานบุญนำนางไปยังปัญจาลนครและถวาย
พระสุธน และทันทีที่ทั้งคู่พบกันก็มีจิตรักใคร่ ด้วยเคยเป็นคู่สร้างกันมาแต่ปางก่อน ทั้งพระราชาและพระราชินี
เองก็มีความรักเอ็นดูนาง เพราะนางมีพระสิริโฉมงดงามและการอบรมอย่างขัตติยนารี จึงจัดพิธีอภิเษกสมรส
อย่างเอิกเกริกให้ทั้งสองพระองค์ พรานบุญเองก้ได้รับรางวัลอย่างงามเช่นกัน

ฝ่ายปุโรหิตโกรธมโนห์รา เพราะเขาเองต้องการให้บุตรสาวของตนอภิเษกสมรสกับพระสุธน แต่ว่าตอนนี้
มโนราห์ได้ทำให้ความฝันของเขาสลายเสียแล้ว จึงคอยโอกาสที่จะได้แก้แค้นนาง และแล้วก็แอบไปคบคิดวาง
แผนกับเจ้าเมืองปัจจันตนครให้ยกทัพมาตีเมืองของตน และเพื่อขับไล่ผู้รุกราน ปุโรหิตจึงทูลเสนอ
ให้พระสุธนยกกองทัพออกปกป้องพระนคร โดยวิธีนี้เขาก็จะได้มีโอกาสดีกำจัดมโนห์ราออกไปเสียให้พ้นทาง

คืนวันหนึ่งพระเจ้าอาทิตยวงศ์ทรงสุบินว่ามียักษ์ตนหนึ่ง เข้ามาในพระราชวังและพยายามจะควักเอาดวง
พระทัยของพระองค์ และพระองค์ก็ทรงสถดุ้งตื่นจากบรรทม ปุโรหิตเจ้าเล่ห์จึงได้โอกาสงามกำจัดมโนห์ร่า
ออกไปเสียให้พ้นทางของบุตรสาวตนเอง เขาจึงทำนายว่าข้าศึกจะเข้ามาในพระราชวังและประหารพระองค์เสีย
ประชาชนจะพากันเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าและเมืองหลวงก็จะถูกเผาผลาญจนหมดสิ้น พระเจ้าอาทิตยวงศ์
ทรฟังดังนั้นก้ตกพระทัยจึงทรงรับสั่งให้หาทางแก้ไขโดยด่วนปุโรหิตจึงกราบทูลว่า

"ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทดวงชะตาบ้านเมืองไม่ดีจะต้องใช้สัตว์สองเท้าและสี่เท้ามาทำพิธี
สังเวยบูชายัญเพื่อสะเดาะเคราะห์ บ้านเมืองจึงจะอยู่รอดปลอดภัยพระเจ้าข้า"

ในขณะเดียวกันนั้นเองคนสนิทของปุโรหิตก้เข้ามากราบทูลพระราชาว่าทัพหลวงที่พระสุธนยก
ไปถูกข้าศึกตีพ่ายแพ้แล้ว เพื่อเป็นการปัดเป่าลางร้ายปุโรหิตจึงกราบทูลว่าถ้าจะให้พิธีมีความศักดิ์สิทธิ์มายิ่ง
่ขึ้นจำเป็นต้องใช้สัตว์กึ่งมนุษย์กึ่งนกเช่นนางมโนห์ราก็จะเป็นการบูชายัญที่ดีเยี่ยม
่พระราชาและพระราชินีพยายามชัดชวนให้ปุโรหิตเปลี่ยนไปใช้สัตว์อื่นแทนที่จะใช้มโนห์รา
แต่เขาก้ยังยืนกรานเช่นเดิม ทั้งสองพระองค์รู้สึกสงสารมโนห์ราเป็นอย่างยิ่ง และทรงคาดเดาไม่ถูกว่า
พระโอรสจะรู้สึกเช่นไรเมื่อกลับจากทัพแล้วไม่พบภรรยาสุดที่รักของตน

ในพิธีพระราชาทรงให้ก่อไฟตามที่ปุโรหิตเสนอ แล้วให้ทหารไปทูลเชิญนางมโนห์รามาเข้าพิธีบูชายัญ
นางมโนห์ราผู้น่าสงสารได้แต่ร่ำไห้คร่ำครวญถึงพระบิดาและพระมารดาของนางและพระสุธน บรรยากาสเต็ม
ไปด้วยความโศกเศร้าในขณะนั้นเองนางมโนห์ราได้สติและเกิดความคิดที่จะหนี
จากการถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรมนี้ ดังนั้นนางจึงทูลขอพระราชาขอให้ได้รำถวายเป็นครั้งสุดท้าย เพราะนาง
เป็นกินรีผู้ซึ่งรักการร่ายรำ หลังจากที่พระราชาทรงอนุญาตแล้วนางจึงขอปีกและหางมาสวมใส่แล้วนางก็ออก
ร่ายรำด้วยท่วงท่าอันงดงามท่ามกลางฝูงชนอันเนืองแน่น ในขณะที่ทุกคนกำลังเพลิดเพลินอยู่กับการเฝ้าดูการ
ร่ายรำอันงดงามอยู่นั้นเอง นางมโนห์ราก็ได้โอกาสหนีโดยถลาบินขึ้นสู่ท้องฟ้าและบ่ายหน้าไปยังภูเขาไกรลาส
ท่ามกลางความตกตะลึง ของฝูงชนนั้นเอง

หลังจากชนะศึกแล้วพระสุธนก็ยกทัพกลับพระนครแต่ก็ต้องมาพบว่าภรรยาสุดที่รักของพระองค
์ไม่ได้อยู่ในพระนครอีกต่อไปแล้ว พระองค์มีความเศร้าโศกอย่างสุดซึ้งและหลังจากทราบความจริงก็สั่งให้
ประหารชีวิตปุโรหิตเสียในข้อหาทรยศ แล้วก็ทูลลาพระบิดาและพระมารดาออกตามหานางมโนห์ราแม้ว่าทั้ง
สองพระองค์จะพยายามทัดทานประการใดก้ไม่เป็นผล เจ้าชายก็ยืนกรานที่จะเสด็จไปเพราะตนไม่อาจจะมี
ชีวิตอยู่โดยปราศจากนางมโนห์ราได้ พระสุธนให้พรานบุญนำนางไปจนถึงสระโบกขรณี และได้เข้าไปนมัสการ
พระฤาษีผู้ซึ่งทูลให้พระองค์ทราบว่า นางมโนห์ราได้แวะมาหาตนและได้สั่งไว้ว่าหากพระองค์เดินทางออก
ตามหานาง ก็ให้ล้มเลิกเสียเพราะว่าหนทางลำบากมากและอันตราย

แล้วพระฤาษีก็มอบผ้ากัมพลกับแหวนให้พระสุธนไปตามที่นางมโนห์ราขอร้องไว้ เมื่อได้เห็นของสองสิ่ง
พระสุธนถึงกับร่ำไห้พระฤาษีรู้สึกสงสารพระสุธน และบอกพระองค์ว่านี้เป็นผลบุญกรรมแห่งอดีตชาติจึงทำให้ทั้ง
คู่ต้องพลัดพรากจากกัน แล้วก็มอบผลยาวิเศษให้พร้อมกับชี้ทางให้พระสุธน

โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือของพรานบุญ พระสุธนก็ออกเดินทางเพียงลำพัง โดยผ่านป่าทึบซึ่งมนุษย์ไม่
สามารถจะผ่านไปได้มีผลไม้มากมายซึ่งล้วนแล้วแต่มีพิษ ด้วยความช่วยเหลือของลูกลิงพระสุธนก็จะเสวยผลไม้
ที่ลูกลิงกินได้เท่านั้น เมื่อมาถึงป่าหวายซึ่งมีสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ไม่สามารถจะผ่านไปได้เพราะล้วนแต่มีหนาม
พิษพระสุธนจึงใช้ผ้ากัมพลห่มแล้วนอนนิ่ง ๆ ขณะนั้นนกหัสดีลิงค์เช้าใจว่าพระสุธนเป็นอาหารจึงคาบพระองค์
ไปไว้ในรังบนยอดไม้ก่อนที่จะบ่ายหน้าไปหาอาหารเพิ่มอีก พระสุธนได้โอกาสหนีแต่ก็หวั่นพระทัยว่าจะมี
อะไรรออยู่เบื้องหน้าอีก

หลังจากเดินทางมาพักหนึ่งก็ไม่สามารถจะไปต่อได้อีกเพราะมีภูเขายนต์สองลูกเคลื่อนเข้ากระทบกันตลอดเวลา
โดยไม่เปิดช่องว่างให้พระองค์ข้ามไปอีกทางหนึ่งได้ แต่หลังจากร่ายมนต์ที่พระฤาษีให้พระองค์ก็สามารถข้ามไป
โดยง่าย

จากนั้นพระองค์ก็เดินทางมาถึงอีกป่าหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยพืชและสัตว์มีพิษพระองค์จึงใช้ยาผงวิเศษชโลมกายเมื่อ
ผ่านป่าพิษแล้วก็มาพบที่อยู่ของนกยักษ์ พระองค์แอบอยุ่ในโพรงไม้ใหญ่ต้นหนึ่งและรอเวลาค่ำ คืนนั้นนกผัวเมีย
คู่หนึ่งคุยกันถึงเรื่องการได้รับเชิญให้ไปร่วมพิธีล้างกลิ่นสาบมนุ
ษย์ให้นางมโนห์ราซึ่งจะมีขึ้นในวันรุ่งขึ้น พิธีนี้จัดให้มีขึ้นหลังจากมโนห์รากลับมาบ้านเมืองครบ 7 ปี 7 เดือน
 7 วัน

หลังจากได้ยินนกทั้งคู่สนทนากันพระสุธนก็ปีนขึ้นไปในรังนกและซ่อนตัวอยู่ในขนนกตัวหน
ึ่งโดยรอเวลาให้นกพาไปยังภูเขาไกรลาส ครั้นนกมาถึงสวนก็เกาะบนต้นไม้พระสุธนจึงเร้นกายออกจากขนนก
แล้วซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้


พระองค์เห็นเหล่านางกินรีกำลังนำน้ำจากสระอโนดาตเพื่อสรงสนานนางมโนห์ราจึงแอบเอาแหว
นใส่ลงในหม้อน้ำ ขณะสรงน้ำนางมโนห์ราเห็นแหวนก็จำได้ นางก็รู้ทันทีว่าพระสุธนได้มาถึงเขาไกรลาสแล้ว
นางมีความยินดียิ่งนักและออกตามหาพระองค์ในที่สุดทั้งคู่ก็ได้พบกัน มโนห์ราพาพระสุธนเข้ามายังปราสาท
ของนาง

เมื่อพระสุธนมาถึงแล้วท้าวทุมราชทรงทราบข่าวและทรงเห็นใจที่พระสุธนมีความรักนางมโนห
์ราอย่างมาก มิฉะนั้นก็คงจะไม่เดินทางมาไกลท่ามกลางอันตรายนานับประการ เจ้าชายหนุ่มผู้นี้จะต้องมีความ
เป็นอัจฉริยะและความสามารถเป็นพิเศษแต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ต้องทดสอบความรักที่พระสุธนมีต่อธิดาของ
พระองค์

ครั้นถึงวันทดสอบท้าวทุมราชรับสั่งให้นางกินรีพี่น้องทั้ง 7 ซึ่งมีรูปร่างสิริโฉมงดงามและคล้ายคลึงกันมากออก
ร่ายรำให้พระสุธนหาตัวนางมโนห์รา พระสุธนเองรู้สึกหนักใจมากเพราะทั้งหมดดูคล้ายคลึงกันมาก
 เพื่อให้ความรักของพระองค์สมหวังพระอินทร์จึงลงมาช่วยโดยการกระซิบบอกว่าถ้านางใดมีแมลงวันทองบินมา
จับที่ใบหน้านางนั้นคือพระชายาของพระองค์ พระสุธนยินดียิ่งนักและมองเห็นแมลงเกาะอยู่บนหน้าของมโนห์รา
จึงรีบดึงพระกรของนางมาทันที พระราชาและทุก ๆ คนต่างก็มีความยินดียิ่งนักที่ได้เห็นทั้งคู่สวมกอดกันอย่าง
น่าเอ็นดู พิธีอภิเษกสมรสอย่างยิ่งใหญ่จึงจัดให้ทั้งสองพระองค์อีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตามบางแห่งกล่าวว่า พระสุธนจำนางมโนห์ราได้ก็เพราะพระองค์เห็นแหวนในนิ้วมือของนางและไม่ได้
กล่าวถึงพระอนทร์มาช่วยแต่อย่างใดเลย แต่จะอย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ก็ได้อยู่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่
ต้องพลัดพรากจากกันไปนาน

หลังจากพิธีอภิเษกสมรสแล้ว พระสุธนก็ทูลขอพระราชานุญาตจากท้าวทุมราช ให้พระองค์และนางมโนห์รากลับ
ไปเยี่ยมบ้านเมืองของพระองค์ ท้าวทุมราชทรงอนุญาตและร่วมเสด็จไปยังเมืองปัญจาลนครด้วย ท้าวทุมราช
ได้พบกับพระบิดาของพระสุธน กษัตริย์ทั้งสองทรงแลกเปลี่ยนของขวัญและร่วมเป็นพระสหายกันแต่บัดนั้น
หลังจากประทับอยู่ในพระราชวัง 7 วัน แล้วท้าวทุมราชลาธิดาของพระองค์และทุก ๆ คนเดินทางกลับพระนคร
ของพระองค์ ภายหลังพระสุธนได้ขึ้นครองราชย์และใช้ชีวิตร่วมกับนางมโนห์ราจนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่ง
พระชนม์ชีพของพระองค์


ที่มา  https://thaifolktales.wordpress.com/ประเภทของนิทานพื้นบ้าน/.../มโนราห์/

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

นิราศนรินทร์

 นิราศนรินทร์มีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่านิราศนรินทร์เป็นนิราศที่มีความไพเราะที่สุดเรื่องหนึ่งของไทยค่ะ




นิราศนรินทร์ เป็นวรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเภทนิราศ ที่จัดว่าแต่งได้ดี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้คัดมาให้นักเรียนได้ศึกษากันในชั้นเรียน และมีบทโคลงที่ใช้เป็นแบบแผนของโคลงสี่สุภาพด้วย


ผู้แต่ง

ผู้แต่งนิราศนรินทร์ คือนายนรินทรธิเบศร์(มิใช่ชื่อตัว แต่เป็นบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ) มีนามเดิมว่า อิน ในตำรารุ่นเก่า มักเขียนเป็น นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ ยกกองทัพหลวงไปปราบพม่า ซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและชุมพร ในช่วงต้นรัชกาลที่ 2 เมื่อปีมะเส็(พ.ศ. 2352) นิราศเรื่องนี้ผู้แต่งไม่ได้ระบุชื่อเอาไว้ แต่เรียกกันโดยทั่วไปตามชื่อผู้แต่ง ว่า “นิราศนรินทร์”

เนื้อหา

เป็นการคร่ำครวญและพรรณนาความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ ที่มีต่อหญิงคนรัก และเล่าถึงการเดินทาง เมื่อผ่านภูมิประเทศต่างๆ เริ่มจากคลองขุด ถึงวัดแจ้ง (วัดอรุ) เข้าคลองบางกอกน้อย และล่องเรือไปจนถึงอ่าวไทยแล้วขึ้นบกที่เพชรบุรี

คำประพันธ์

นิราศนรินทร์แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 143 บท โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท ผู้แต่งประณีตในการคัดสรรคำและความหมาย ร้อยกรองเป็นบทโคลงที่ไพเราะ ทั้งยังมีสัมผัสอักษรแพรวพราวตามขนบของคำโคลง อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีโคลงบทไหนเลย ที่อ่านแล้วไม่รู้สึกถึงความไพเราะงดงาม อย่างไรก็ตาม ด้วยสำนวนภาษาที่เก่าถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีคำศัพท์จำนวนไม่น้อยที่เข้าใจยาก หรือเป็นที่ถกเถียงกันโดยยังไม่มีข้อยุติ
นิราศเรื่องนี้เป็นที่ยกย่องกันมาก ถึงกับยกเปรียบกับวรรณคดีรุ่นเก่าอย่างโคลงกำสรวล ในเรื่องนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังได้ทรงพระนิพนธ์คำนำหนังสือนิราศนรินทร์เอาไว้ ตอนหนึ่งมีข้อความว่า “...มีผู้สันนิษฐานว่านายนรินทรธิเบศร์ (อิน) แต่งเอาอย่าง หรือเลียนแบบโคลงนิราศกำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อเทียบเคียงกันแล้ว กลับเห็นว่าแต่งดีกว่าเรื่องกำสรวลศรีปราชญ์

ตัวอย่างโคลงกลอน
     
อยุธยายศล่มแล้ว

ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-

เจิดหล้า
บุญเพรงพระหากสรรค์

ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
บังอบายเบิกฟ้า

ฝึกฟื้นใจเมือง ฯ



   เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น

พันแสง
รินรสพระธรรมแสดง

ค่ำเช้า
เจดีย์ระดะแซง

เสียดยอด
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า

แก่นหล้าหลากสวรรค์ ฯ



   โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น

ไพหาร
ธรรมาสน์ศาลาลาน

พระแผ้ว
หอไตรระฆังขาน

ภายค่ำ
ไขประทีปโคมแก้ว

ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์ ฯ



   เสร็จสารพระยศซ้อง

สรรเสริญ
ไป่แจ่มใจจำเริญ

ร่ำอ้าง
ตราตรอมตระโมจเหิน

วนสวาท
อกวะหวิวหวั่นร้าง

รีบร้อนการณรงค์ ฯ

เทพสามฤดู

เทพสามฤดู   เป็นนิทาน พื้นบ้านของไทย ปรากฏเป็นหนังสือครั้งแรก โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดเกาะ   เคย ถูกสร้างเป็นละคร  ในปี 2517 ในชื่อ ฝนสามฤดู ...