นิราศนรินทร์มีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่านิราศนรินทร์เป็นนิราศที่มีความไพเราะที่สุดเรื่องหนึ่งของไทยค่ะ
นิราศนรินทร์ เป็นวรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเภทนิราศ ที่จัดว่าแต่งได้ดี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้คัดมาให้นักเรียนได้ศึกษากันในชั้นเรียน และมีบทโคลงที่ใช้เป็นแบบแผนของโคลงสี่สุภาพด้วย
ผู้แต่ง
ผู้แต่งนิราศนรินทร์ คือนายนรินทรธิเบศร์(มิใช่ชื่อตัว แต่เป็นบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ) มีนามเดิมว่า อิน ในตำรารุ่นเก่า มักเขียนเป็น นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ได้แต่งนิราศเรื่องนี้เมื่อคราวตามเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ ยกกองทัพหลวงไปปราบพม่า ซึ่งยกลงมาตีเมืองถลางและชุมพร ในช่วงต้นรัชกาลที่ 2 เมื่อปีมะเส็ง(พ.ศ. 2352) นิราศเรื่องนี้ผู้แต่งไม่ได้ระบุชื่อเอาไว้ แต่เรียกกันโดยทั่วไปตามชื่อผู้แต่ง ว่า “นิราศนรินทร์”
เนื้อหา
เป็นการคร่ำครวญและพรรณนาความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ ที่มีต่อหญิงคนรัก และเล่าถึงการเดินทาง เมื่อผ่านภูมิประเทศต่างๆ เริ่มจากคลองขุด ถึงวัดแจ้ง (วัดอรุณ) เข้าคลองบางกอกน้อย และล่องเรือไปจนถึงอ่าวไทยแล้วขึ้นบกที่เพชรบุรี
คำประพันธ์
นิราศนรินทร์แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 143 บท โดยมีร่ายสุภาพขึ้นต้น 1 บท ผู้แต่งประณีตในการคัดสรรคำและความหมาย ร้อยกรองเป็นบทโคลงที่ไพเราะ ทั้งยังมีสัมผัสอักษรแพรวพราวตามขนบของคำโคลง อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีโคลงบทไหนเลย ที่อ่านแล้วไม่รู้สึกถึงความไพเราะงดงาม อย่างไรก็ตาม ด้วยสำนวนภาษาที่เก่าถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีคำศัพท์จำนวนไม่น้อยที่เข้าใจยาก หรือเป็นที่ถกเถียงกันโดยยังไม่มีข้อยุติ
นิราศเรื่องนี้เป็นที่ยกย่องกันมาก ถึงกับยกเปรียบกับวรรณคดีรุ่นเก่าอย่างโคลงกำสรวล ในเรื่องนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังได้ทรงพระนิพนธ์คำนำหนังสือนิราศนรินทร์เอาไว้ ตอนหนึ่งมีข้อความว่า “...มีผู้สันนิษฐานว่านายนรินทรธิเบศร์ (อิน) แต่งเอาอย่าง หรือเลียนแบบโคลงนิราศกำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เมื่อเทียบเคียงกันแล้ว กลับเห็นว่าแต่งดีกว่าเรื่องกำสรวลศรีปราชญ์
ตัวอย่างโคลงกลอน
อยุธยายศล่มแล้ว
|
ลอยสวรรค์ ลงฤๅ
| |
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-
|
เจิดหล้า
| |
บุญเพรงพระหากสรรค์
|
ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
| |
บังอบายเบิกฟ้า
|
ฝึกฟื้นใจเมือง ฯ
| |
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น
|
พันแสง
| |
รินรสพระธรรมแสดง
|
ค่ำเช้า
| |
เจดีย์ระดะแซง
|
เสียดยอด
| |
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า
|
แก่นหล้าหลากสวรรค์ ฯ
| |
โบสถ์ระเบียงมรฑปพื้น
|
ไพหาร
| |
ธรรมาสน์ศาลาลาน
|
พระแผ้ว
| |
หอไตรระฆังขาน
|
ภายค่ำ
| |
ไขประทีปโคมแก้ว
|
ก่ำฟ้าเฟือนจันทร์ ฯ
| |
เสร็จสารพระยศซ้อง
|
สรรเสริญ
| |
ไป่แจ่มใจจำเริญ
|
ร่ำอ้าง
| |
ตราตรอมตระโมจเหิน
|
วนสวาท
| |
อกวะหวิวหวั่นร้าง
|
รีบร้อนการณรงค์ ฯ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น