วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

พระสุธน-มโนราห์

ติดตามมหากาพย์แห่งหนี้รักที่ข้ามภพชาติมาชดใช้ให้แก่กันได้...
ใน... พระสุธน มโนราห์




เนื้อเรื่อง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีราชอาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งชื่อว่า "ปัญจาลนคร" ปกครองโดยกษัตริย์
ผู้ทรงอยุ่ในทศพิธราชธรรมทรงพระนามว่า "อาทิตยวงศ์" พระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่า "จันทาเทวี"
 ซึ่งต่อมาได้ประสูติพระโอรสพระนามว่า "พระสุธน" เมื่อพระกุมารเจริญวัยขึ้นก็มีความเฉลียวฉลาด
และพระรูปโฉมงดงาม ยากที่จะหาราชกุมารในแว่นแคว้นอื่นเทียบเคียงได้
ครั้งนั้นมีพญานาคราชตนหนึ่งมีนามว่า "ท้าวชมพูจิต" มีฤทธิ์อำนาจมากสามารถนำความเจริญรุ่งเรือง
มาสู่อาณาจักรใดก็ได้ พญานาคราชเห็นพระเจ้าอาทิตย์วงศ์เป็นพระราชาที่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม
จึงบันดาลให้เมืองปัญจาลนครอุดมสมบูรณ์มีฝนตกต้องตามฤดูกาล

มีเมืองที่มีอาณาเขตติดต่อกับปัญจาลนครคือ เมืองนครมหาปัญจาละ ซึ่งปกครองโดยพระราชาที่ไม่ตั้งอยู่ใน
ทศพิธราชธรรม พระนามว่า "พระเจ้านันทราช" และจากการที่ทรงปกครองด้วยการกดขี่
อาณาประชาราษฏร์นี้เอง จึงทำให้อาณาจักรของพระองค์ ประสบกับความแห้งแล้งข้าวยากหมากแพง
เพื่อหนีจากความยากเย็นแสนเข็นนี้ บรรดาประชาราษฏร์จึงพากันอพยพไปอาศันอยุ่ในเมืองปัญจาลนคร
พระเจ้านันทราชมีจิตริษยาพระเจ้าอาทิตยวงศ์ และในขณะเดียวกันก็แค้นเคืองท้าวชมพูจิตผู้ซึ่งถูกกล่าวหา
ว่ามีใจลำเอียงในขณะบรรดาลให้ฝนฟ้าตกบนพื้นโลก

เพื่อล้างแค้นท้าวชมพูจิต พระเจ้านันทราชจึงทรงทรงปรึกษากับปุโรหิต ผู้ซึ่งรับอาสาไปหาผู้ที่สามารถ
ฆ่าพญานาคได้ และแล้วก็ได้พราหมณ์เฒ่าผู้ซึ่งมีมนต์วิเศษสูงกว่าพญานาคราช หลังจากได้รับได้รับทราบ
พระประสงค์ของพระราชาแล้ว พราหมณ์ก็มุ่งหน้าไปยังสระใหญ่ซึ่งเป็นที่อยู่ของพญานาคราชแล้วเป่ามนต์
ลงในสระใหญ่ยิ่งผลให้น้ำปั่นป่วน และเกิดเป็นคลื่นลูกใหญ่สั่นสะเทือนไปทั่วทั่งสระ ในขณะประกอบ
พิธีอยู่นั้นพราหมณ์ต้องเข้าไปในป่าเพื่อหารากไม้มาทำเป็นเชือกสไหรับจับพญานาคราช

ด้วยอำนาจแห่งมนต์วิเศษของพราหมณ์ ท้าวชมพูจิตเกิดความรุ่มร้อนเหมือนถุกไฟเผาจึงต้องขึ้นจากสระ
แล้วแปลงกายเป็นพราหมณ์หนุ่มเพราะรู้ตัวว่าอันตรายได้เข้ามาใกล้ตนแล้ว แม้ตัวเองจะมีฤทธิ์เดช
แต่ก็หาต้านทานพราหมณ์เฒ่าได้ไม่ ดังนั้นจึงคิดหาทางทำลายพิธีของพราหมณ์ผู่จิตคิดกำจัดตน

ในขณะเดินไปมาอยู่ในป่า ท้าวชมพูจิตในร่างของพราหมณ์หนุ่มก็พบกับพรานป่าผู้หนึ่งชื่อพรานบุณ
กำลังออกป่าล่าสัตว์อยู่พอดีจึงเข้าไปทักทายและถามถึงบ้านเมืองของพรานผู้นั้นพรานป่าบอกว่าเขาเป็นชาว
เมืองปัญาจานคร ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะได้รับความอนุเคราะห์จากพญานาคราช พรานป่าสาบาน
ว่าเขาจะฆ่าบุคคลผู้นั้นเสียโดยไม่รีรอ

ท้าวชมพูจิตดีใจมากที่ได้ยินเช่นนั้น จึงแสดงตนเป็นพญานาคราชและเล่าเรื่องภัยอันใหญ่หลวงให้พรานฟัง
 เพื่อทำลายพิธีของพราหมณ์เฒ่าเสีย พรานบุญจึงยิงเขาตายด้วยลูกธนู พญานาคราชดีใจมาก และขอบคุณ
พรานบุญที่ได้ช่วยเหลือเขาไว้และแล้วก้ชวนพรานบุญไปเที่ยวชมนครใต้พิภพของเขา พญานาคราชสัญญาว่า
จะช่วยเหลือเมื่อใดก็ตามที่พรานบุญร้องขอ แล้วก็มอบสิ่งมีค่าให้พรานบุญไปมากมาย

พรานบุญจึงอำลาพญานาคราช และใช้ชีวิตอยู่อย่างสบายแต่ก็ยังชอบล่าสัตว์อยู่ วันหนึ่งในขณะที่เดินทาง
เข้าไปป่าลึก และได้พบกับพระฤาษีตนหนึ่ง ชื่อกัสสปะผุ้ซึ่งเล่าเรื่องกินรีให้เขาฟัง โดยปกติหมู่กินรีจากเขา
ไกรลาสจะบินมาลงเล่นน้ำในสาระโบกขรณีทุก ๆ 7 วัน เมื่อพรานบุญเห็นความงามของกินรี ก็คิดจะจับนาง
กินรีสักนางหนึ่งไปถวายพระสุธนเพื่อนเป็นของขวัญจากป่า แต่พระฤาษีก็บอกเขาว่าไม่มีหนทางจะจับนางได้
นอกจากจะได้บ่วงบาศของพญานาคราชท้าวชมพูจิตเท่านั้น เพราะนางกินรีสามารถบินได้เร็ว

พรานบุญจึงเดินทางไปพบท้าวชมพูจิตเพื่อขอยืมบ่วงบาศ ความจริงแล้วพญานาคราชไม่ต้องให้พรานบุญขอ
ยืมบ่วงบาศ เพราะจะเป็นบาปแก่ตนพรานบุญเคยช่วยชีวิตตนไว้ให้พ้นภัยจากพราหมณ์เฒ่า และได้ทราบ
จากการใช้มนต์วิเศษของตนตรวจสอบดูก็พบว่า นางกินรีชื่อว่ามโนห์รา และพระสุธนเป็นเนื้อคู่กัน
พญานาคราชจึงยอมมอบให้ไป

หลังจากได้บ่วงบาศจากท้าวชมพูจิตมาแล้ว พรานบุญก็สามารถจับมโนห์รา ซึ่งเป็นธิดาองค์หนึ่งในบรรดา
ธิดาทั้ง 7 คน ของท้าวทุมราชได้ ท้าวทุมราชเป็นพระราชาปกครองเขาไกรลาส นางมโนห์ราซึ่งเป็นน้อง
สุดท้องไม่สามารถหนีบ่วงบาศที่พรานบุญเหวี่ยงมาคล้องได้ พรานบุญนำนางไปยังปัญจาลนครและถวาย
พระสุธน และทันทีที่ทั้งคู่พบกันก็มีจิตรักใคร่ ด้วยเคยเป็นคู่สร้างกันมาแต่ปางก่อน ทั้งพระราชาและพระราชินี
เองก็มีความรักเอ็นดูนาง เพราะนางมีพระสิริโฉมงดงามและการอบรมอย่างขัตติยนารี จึงจัดพิธีอภิเษกสมรส
อย่างเอิกเกริกให้ทั้งสองพระองค์ พรานบุญเองก้ได้รับรางวัลอย่างงามเช่นกัน

ฝ่ายปุโรหิตโกรธมโนห์รา เพราะเขาเองต้องการให้บุตรสาวของตนอภิเษกสมรสกับพระสุธน แต่ว่าตอนนี้
มโนราห์ได้ทำให้ความฝันของเขาสลายเสียแล้ว จึงคอยโอกาสที่จะได้แก้แค้นนาง และแล้วก็แอบไปคบคิดวาง
แผนกับเจ้าเมืองปัจจันตนครให้ยกทัพมาตีเมืองของตน และเพื่อขับไล่ผู้รุกราน ปุโรหิตจึงทูลเสนอ
ให้พระสุธนยกกองทัพออกปกป้องพระนคร โดยวิธีนี้เขาก็จะได้มีโอกาสดีกำจัดมโนห์ราออกไปเสียให้พ้นทาง

คืนวันหนึ่งพระเจ้าอาทิตยวงศ์ทรงสุบินว่ามียักษ์ตนหนึ่ง เข้ามาในพระราชวังและพยายามจะควักเอาดวง
พระทัยของพระองค์ และพระองค์ก็ทรงสถดุ้งตื่นจากบรรทม ปุโรหิตเจ้าเล่ห์จึงได้โอกาสงามกำจัดมโนห์ร่า
ออกไปเสียให้พ้นทางของบุตรสาวตนเอง เขาจึงทำนายว่าข้าศึกจะเข้ามาในพระราชวังและประหารพระองค์เสีย
ประชาชนจะพากันเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าและเมืองหลวงก็จะถูกเผาผลาญจนหมดสิ้น พระเจ้าอาทิตยวงศ์
ทรฟังดังนั้นก้ตกพระทัยจึงทรงรับสั่งให้หาทางแก้ไขโดยด่วนปุโรหิตจึงกราบทูลว่า

"ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทดวงชะตาบ้านเมืองไม่ดีจะต้องใช้สัตว์สองเท้าและสี่เท้ามาทำพิธี
สังเวยบูชายัญเพื่อสะเดาะเคราะห์ บ้านเมืองจึงจะอยู่รอดปลอดภัยพระเจ้าข้า"

ในขณะเดียวกันนั้นเองคนสนิทของปุโรหิตก้เข้ามากราบทูลพระราชาว่าทัพหลวงที่พระสุธนยก
ไปถูกข้าศึกตีพ่ายแพ้แล้ว เพื่อเป็นการปัดเป่าลางร้ายปุโรหิตจึงกราบทูลว่าถ้าจะให้พิธีมีความศักดิ์สิทธิ์มายิ่ง
่ขึ้นจำเป็นต้องใช้สัตว์กึ่งมนุษย์กึ่งนกเช่นนางมโนห์ราก็จะเป็นการบูชายัญที่ดีเยี่ยม
่พระราชาและพระราชินีพยายามชัดชวนให้ปุโรหิตเปลี่ยนไปใช้สัตว์อื่นแทนที่จะใช้มโนห์รา
แต่เขาก้ยังยืนกรานเช่นเดิม ทั้งสองพระองค์รู้สึกสงสารมโนห์ราเป็นอย่างยิ่ง และทรงคาดเดาไม่ถูกว่า
พระโอรสจะรู้สึกเช่นไรเมื่อกลับจากทัพแล้วไม่พบภรรยาสุดที่รักของตน

ในพิธีพระราชาทรงให้ก่อไฟตามที่ปุโรหิตเสนอ แล้วให้ทหารไปทูลเชิญนางมโนห์รามาเข้าพิธีบูชายัญ
นางมโนห์ราผู้น่าสงสารได้แต่ร่ำไห้คร่ำครวญถึงพระบิดาและพระมารดาของนางและพระสุธน บรรยากาสเต็ม
ไปด้วยความโศกเศร้าในขณะนั้นเองนางมโนห์ราได้สติและเกิดความคิดที่จะหนี
จากการถูกกระทำอย่างไม่ยุติธรรมนี้ ดังนั้นนางจึงทูลขอพระราชาขอให้ได้รำถวายเป็นครั้งสุดท้าย เพราะนาง
เป็นกินรีผู้ซึ่งรักการร่ายรำ หลังจากที่พระราชาทรงอนุญาตแล้วนางจึงขอปีกและหางมาสวมใส่แล้วนางก็ออก
ร่ายรำด้วยท่วงท่าอันงดงามท่ามกลางฝูงชนอันเนืองแน่น ในขณะที่ทุกคนกำลังเพลิดเพลินอยู่กับการเฝ้าดูการ
ร่ายรำอันงดงามอยู่นั้นเอง นางมโนห์ราก็ได้โอกาสหนีโดยถลาบินขึ้นสู่ท้องฟ้าและบ่ายหน้าไปยังภูเขาไกรลาส
ท่ามกลางความตกตะลึง ของฝูงชนนั้นเอง

หลังจากชนะศึกแล้วพระสุธนก็ยกทัพกลับพระนครแต่ก็ต้องมาพบว่าภรรยาสุดที่รักของพระองค
์ไม่ได้อยู่ในพระนครอีกต่อไปแล้ว พระองค์มีความเศร้าโศกอย่างสุดซึ้งและหลังจากทราบความจริงก็สั่งให้
ประหารชีวิตปุโรหิตเสียในข้อหาทรยศ แล้วก็ทูลลาพระบิดาและพระมารดาออกตามหานางมโนห์ราแม้ว่าทั้ง
สองพระองค์จะพยายามทัดทานประการใดก้ไม่เป็นผล เจ้าชายก็ยืนกรานที่จะเสด็จไปเพราะตนไม่อาจจะมี
ชีวิตอยู่โดยปราศจากนางมโนห์ราได้ พระสุธนให้พรานบุญนำนางไปจนถึงสระโบกขรณี และได้เข้าไปนมัสการ
พระฤาษีผู้ซึ่งทูลให้พระองค์ทราบว่า นางมโนห์ราได้แวะมาหาตนและได้สั่งไว้ว่าหากพระองค์เดินทางออก
ตามหานาง ก็ให้ล้มเลิกเสียเพราะว่าหนทางลำบากมากและอันตราย

แล้วพระฤาษีก็มอบผ้ากัมพลกับแหวนให้พระสุธนไปตามที่นางมโนห์ราขอร้องไว้ เมื่อได้เห็นของสองสิ่ง
พระสุธนถึงกับร่ำไห้พระฤาษีรู้สึกสงสารพระสุธน และบอกพระองค์ว่านี้เป็นผลบุญกรรมแห่งอดีตชาติจึงทำให้ทั้ง
คู่ต้องพลัดพรากจากกัน แล้วก็มอบผลยาวิเศษให้พร้อมกับชี้ทางให้พระสุธน

โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือของพรานบุญ พระสุธนก็ออกเดินทางเพียงลำพัง โดยผ่านป่าทึบซึ่งมนุษย์ไม่
สามารถจะผ่านไปได้มีผลไม้มากมายซึ่งล้วนแล้วแต่มีพิษ ด้วยความช่วยเหลือของลูกลิงพระสุธนก็จะเสวยผลไม้
ที่ลูกลิงกินได้เท่านั้น เมื่อมาถึงป่าหวายซึ่งมีสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ไม่สามารถจะผ่านไปได้เพราะล้วนแต่มีหนาม
พิษพระสุธนจึงใช้ผ้ากัมพลห่มแล้วนอนนิ่ง ๆ ขณะนั้นนกหัสดีลิงค์เช้าใจว่าพระสุธนเป็นอาหารจึงคาบพระองค์
ไปไว้ในรังบนยอดไม้ก่อนที่จะบ่ายหน้าไปหาอาหารเพิ่มอีก พระสุธนได้โอกาสหนีแต่ก็หวั่นพระทัยว่าจะมี
อะไรรออยู่เบื้องหน้าอีก

หลังจากเดินทางมาพักหนึ่งก็ไม่สามารถจะไปต่อได้อีกเพราะมีภูเขายนต์สองลูกเคลื่อนเข้ากระทบกันตลอดเวลา
โดยไม่เปิดช่องว่างให้พระองค์ข้ามไปอีกทางหนึ่งได้ แต่หลังจากร่ายมนต์ที่พระฤาษีให้พระองค์ก็สามารถข้ามไป
โดยง่าย

จากนั้นพระองค์ก็เดินทางมาถึงอีกป่าหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยพืชและสัตว์มีพิษพระองค์จึงใช้ยาผงวิเศษชโลมกายเมื่อ
ผ่านป่าพิษแล้วก็มาพบที่อยู่ของนกยักษ์ พระองค์แอบอยุ่ในโพรงไม้ใหญ่ต้นหนึ่งและรอเวลาค่ำ คืนนั้นนกผัวเมีย
คู่หนึ่งคุยกันถึงเรื่องการได้รับเชิญให้ไปร่วมพิธีล้างกลิ่นสาบมนุ
ษย์ให้นางมโนห์ราซึ่งจะมีขึ้นในวันรุ่งขึ้น พิธีนี้จัดให้มีขึ้นหลังจากมโนห์รากลับมาบ้านเมืองครบ 7 ปี 7 เดือน
 7 วัน

หลังจากได้ยินนกทั้งคู่สนทนากันพระสุธนก็ปีนขึ้นไปในรังนกและซ่อนตัวอยู่ในขนนกตัวหน
ึ่งโดยรอเวลาให้นกพาไปยังภูเขาไกรลาส ครั้นนกมาถึงสวนก็เกาะบนต้นไม้พระสุธนจึงเร้นกายออกจากขนนก
แล้วซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้


พระองค์เห็นเหล่านางกินรีกำลังนำน้ำจากสระอโนดาตเพื่อสรงสนานนางมโนห์ราจึงแอบเอาแหว
นใส่ลงในหม้อน้ำ ขณะสรงน้ำนางมโนห์ราเห็นแหวนก็จำได้ นางก็รู้ทันทีว่าพระสุธนได้มาถึงเขาไกรลาสแล้ว
นางมีความยินดียิ่งนักและออกตามหาพระองค์ในที่สุดทั้งคู่ก็ได้พบกัน มโนห์ราพาพระสุธนเข้ามายังปราสาท
ของนาง

เมื่อพระสุธนมาถึงแล้วท้าวทุมราชทรงทราบข่าวและทรงเห็นใจที่พระสุธนมีความรักนางมโนห
์ราอย่างมาก มิฉะนั้นก็คงจะไม่เดินทางมาไกลท่ามกลางอันตรายนานับประการ เจ้าชายหนุ่มผู้นี้จะต้องมีความ
เป็นอัจฉริยะและความสามารถเป็นพิเศษแต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ต้องทดสอบความรักที่พระสุธนมีต่อธิดาของ
พระองค์

ครั้นถึงวันทดสอบท้าวทุมราชรับสั่งให้นางกินรีพี่น้องทั้ง 7 ซึ่งมีรูปร่างสิริโฉมงดงามและคล้ายคลึงกันมากออก
ร่ายรำให้พระสุธนหาตัวนางมโนห์รา พระสุธนเองรู้สึกหนักใจมากเพราะทั้งหมดดูคล้ายคลึงกันมาก
 เพื่อให้ความรักของพระองค์สมหวังพระอินทร์จึงลงมาช่วยโดยการกระซิบบอกว่าถ้านางใดมีแมลงวันทองบินมา
จับที่ใบหน้านางนั้นคือพระชายาของพระองค์ พระสุธนยินดียิ่งนักและมองเห็นแมลงเกาะอยู่บนหน้าของมโนห์รา
จึงรีบดึงพระกรของนางมาทันที พระราชาและทุก ๆ คนต่างก็มีความยินดียิ่งนักที่ได้เห็นทั้งคู่สวมกอดกันอย่าง
น่าเอ็นดู พิธีอภิเษกสมรสอย่างยิ่งใหญ่จึงจัดให้ทั้งสองพระองค์อีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตามบางแห่งกล่าวว่า พระสุธนจำนางมโนห์ราได้ก็เพราะพระองค์เห็นแหวนในนิ้วมือของนางและไม่ได้
กล่าวถึงพระอนทร์มาช่วยแต่อย่างใดเลย แต่จะอย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ก็ได้อยู่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่
ต้องพลัดพรากจากกันไปนาน

หลังจากพิธีอภิเษกสมรสแล้ว พระสุธนก็ทูลขอพระราชานุญาตจากท้าวทุมราช ให้พระองค์และนางมโนห์รากลับ
ไปเยี่ยมบ้านเมืองของพระองค์ ท้าวทุมราชทรงอนุญาตและร่วมเสด็จไปยังเมืองปัญจาลนครด้วย ท้าวทุมราช
ได้พบกับพระบิดาของพระสุธน กษัตริย์ทั้งสองทรงแลกเปลี่ยนของขวัญและร่วมเป็นพระสหายกันแต่บัดนั้น
หลังจากประทับอยู่ในพระราชวัง 7 วัน แล้วท้าวทุมราชลาธิดาของพระองค์และทุก ๆ คนเดินทางกลับพระนคร
ของพระองค์ ภายหลังพระสุธนได้ขึ้นครองราชย์และใช้ชีวิตร่วมกับนางมโนห์ราจนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่ง
พระชนม์ชีพของพระองค์


ที่มา  https://thaifolktales.wordpress.com/ประเภทของนิทานพื้นบ้าน/.../มโนราห์/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เทพสามฤดู

เทพสามฤดู   เป็นนิทาน พื้นบ้านของไทย ปรากฏเป็นหนังสือครั้งแรก โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดเกาะ   เคย ถูกสร้างเป็นละคร  ในปี 2517 ในชื่อ ฝนสามฤดู ...